วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

สิบเก้า-เก้า-สาม จุดเอก (ตำหนิ) หลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม

 ชี้ (19- 9 -3 ) จุดเอกด้านหน้า หลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม














การดูจุดตำหนิด้านหน้าหลวงพ่อเงินสิบเก้าจุดที่ต้องมี(พิมพ์นิยม)

1.หน้าผากโหนกนูนเหมือนซาลาเปา  ศีรษะบนบางองค์กลม(เศียรกลม) บางองค์ด้านบนแบน (เศียรบาตร)

      2.ตำแหน่งตาช้ายสูงกว่าตาขวา และตาช้ายไม่ได้วางอยู่    ในระนาบเดียวกัน ให้สังเกตตาขวาจะสูงกว่าตาช้าย

        3.ปลายจมูกใหญ่ ปลายจมูกข้างขวาองค์พระจะใหญ่ขึ้น
 และปิดมาทางขวา
       
        4.ใบหูใหญ่ ในบางองค์ใบหูที่ติดชัดเจน ใบหูจะใหญ่เป็นวง
และจะโค้งออกจากองค์พระ

       5.ปากอ้ายิ้ม บางองค์ที่ติดชัดเจนจะเห็นเสี้ยนขนหนู คล้ายๆฟันปรากฎขึ้น
     
       6.เส้นสังฆาฎิมีรอยเว้าเล็กน้อย ขอบสังฆาฎิช่วงกลางมีรอย
เว้าเล็กน้อย ถือเป็นจุดสำคัญอีกจุดหนึ่งของพิมพ์นิยม

        7.เนื้อหน้าอกด้านขวามีกล้ามเนื้อนูนแต่ง (ไม่แบนราบ) เนื้อ
หน้าอกด้านขวาด้านบน มีเนื้อนูนขึ้นมา ไม่แบนราบ พระปลอมส่วนใหญ่จะแบนราบ

        8.เส้นร่องจีวรด้านขวามือส่วนมาก จะติดชัดเจนสามเส้นและในเส้นที่สี่ จะไม่ค่อยติดชัดเจนเท่าไหร่นัก ในองค์ที่ติดชัดเจนเส้นจีวรก็จะติดไม่ยาวนักมักจะสั้นกว่าเส้นอื่นๆ

       9.มีเนื้อนูนย้อยใต้ข้อมือขวา ใต้ข้อมือขวามีเนื้อนูนย้อยลงมาทุกองค์ ชึ้งที่จริงการออกแบบของช่างให้เป็น แนวเส้นจีวรที่พาดผ่านมือช้ายนั่นเอง

      10.จุดสังเกตใต้หัวเข่าขวาในบางองค์ ส่วนมากจะมีเนื้อนูนย้อยลงมา(มีบ้างไม่มีบ้าง)ขึ้นอยู่กับการหล่อแต่ละองค์

      11.นิ้วมือไม่เชื่อมชนกัน แต่มีรอยคอดเว้าเล็กน้อย บางองค์อาจมีเนื้อล้นออกมาทำให้ดูเหมือนนิ้วชนกัน แต่ต้องพิจารณาจุดตำหนิอื่นๆมารวมกันด้วย

      12.ฐานส่วนมากจะมีบาง หนา ไม่เท่ากันขึ้นอยูกับการหล่อพระแต่ละองค์ และ ผิวเนื้อพระอาจจะเป็นเนื้อทองเหลือง หรือ เนื้อแก่ทอง แก่เงิน แก่นาค ขึ้นอยู่กับแร่ของแต่ล่ะชนิดที่นำมาผสม ในการหล่อพระแต่ล่ะองค์

   13.พิมพ์นิยมจะแยกออกเป็นสองบล็อค คือ บล็อกที่มีมือติดชัด และ บล็อคที่มีมือติดไม่ชัด สังเกตได้ตามรูปภาพด้านบน

   14.เนื้อเกินเนื้อแตกแยกตัว เป็นหลุมเป็นบ่อ ชึ้งเป็นธรรมชาติของการหล่อพระสมัยเก่า ไม่เหมือนพระปลอมที่ทำปั้มขึ้นมามักจะไม่ปรากฎสิ่งนี้ให้เห็น

     15.เท้าช้ายเรียวอ่อนพลิ้ว เรียวบางแหลมคม เป็นธรรมชาติ

     16.ในบางออกจะมีติ่งจุด เนื้อเกินปรากฎให้เห็นชึ้งเกิดจากแม่พิมพ์ และ การหล่อพระในแต่ละองค์

    17.เท้าขวาในบางองค์ที่ติดชัดเจน จะเห็นหัวแม่เท้าปรากฎให้เห็น

   18.ปลายสังฆาฎิเว้าเข้าในเล็กน้อยทั้งสองมุม ดูคล้ายดอกจิกทำให้ปลายสังฆาฏิไม่ตัดเป็นเส้นตรง

    19.ชายจีวรขวางๆ อ่อนพริ้วเป็นธรรมชาติ องค์ที่ติดชัดเจนจะเห็นจีวรนับได้ประมาณหกเส้น

หมายเหตุ  ทั้งสิบเก้าจุดเอก เป็นเพียงหลักการพิจารณาเบื้องต้น ที่ต้องนำมาประกอบกับจุดอื่นๆอีก หลายจุดขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละท่านในการดูพระเครื่อง
  

       หลักการพิจารณาด้านหลังรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม(เก้าจุด)













หลักการพิจารณาด้านหลังรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมเก้าจุด


              1.คอตันล่ำใหญ่
           
                   2.ใบหูข้างขวาองค์พระจะยาวกว่าข้างช้าย

                   3.เส้นสังฆาฎิชัดเจน
                         
                   4.ไหล่แขนก้ามมือข้างขวาอวบหนานูน
        
                   5.จีวรเส้นที่สองและสามติดกัน

                    6.เส้นริ้วจีวรลดหลั่นเป็นธรรมชาติ

                   7.เส้นร่องสังฆาฏิชัดเจนเป็นธรรมชาติ

                   8.เนื้อเกิน รอยแต่ง เนื้อหล่อแบบเป็นธรรมชาติ
     
                   9.ลอยจุดแตกแยกเสี้ยนขนหนู ต่างๆมีธรรมชาติให้เห็น



      ฐานล่างรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม   (สามจุด)







ก้นฐานล่างรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม


1.พิมพ์นิยมทุกองค์ที่ก้นจะต้องมีรอยก้านชนวน


                2.เนื้อนูนล้นเกินเนื่องจากการเทหล่อแบบโบราน


 3.มีการแต่งด้วยตะไบลบคม บางองค์ที่ตะไบเรียบ

กลี้ยงอาจเห็นก้านชนวนไม่ชัดเจน


สนับสนุนโดย


โดยชมรมพระเครื่องเบญจภาคี www.somdej1899.com








       โดยสมาชิกชมรมฯพระเครื่องเบญจภาคี

                   www.somdej1899.com


        

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

หลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมวัดบางคลานที่ได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว




























                ประวัติหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน






หลวงพ่อเงินชื่อเดิมของท่านชื่อเงินในสมัยนั้นยังไม่มีนามสกุลท่านเกิดเมื่อวันที่๑๖กันยายน.. ๒๓๕๓ตรงกับวันศุกร์เดือน๑๐ปีฉลูบิดาของหลวงพ่อเงินชื่ออู๋ซึ่งเป็นชาวบ้านบางคลานมารดาชื่อฟักเป็นชาวบ้านแสนตออำเภอแสนตอ(ปัจจุบันเป็นอำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี) จังหวัดกำแพงเพชร



 

หลวงพ่อเงิน
มื่อเอ่ยชื่อถึง หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน ไม่ มีใครในจังหวัดพิจิตรที่ไม่รู้จักท่านเพราะหลวงพ่อเงินเป็นเกจิอาจารย์ที่ ทรงความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนทั่ว ๆ ไปในบรรดาเกจิอาจารย์ด้วยกันแล้วเห็นจะไม่มีหลวงพ่อองค์ใดที่จะดังไปกว่า หลวงพ่อเงิน ถึงแม้ว่าท่านจะมรณภาพไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๒ ชื่อของท่านยังฝังแน่นอยู่ในความจำของบุคคลทุกชนชั้น

หลวงพ่อเงินชื่อเดิมของท่านชื่อ “เงิน”ในสมัยนั้นยังไม่มีนามสกุล ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๓ตรงกับวันศุกร์ เดือน ๑๐ ปีฉลู บิดาของหลวงพ่อเงินชื่อ อู๋ซึ่งเป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาชื่อ ฟักเป็นชาวบ้านแสนตอ อำเภอแสนตอ(ปัจจุบันเป็นอำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี) จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่อเงิน มีพี่น้องร่วมสาย
โลหิตทั้งหมด ๖ คน ดังนี้
คนที่ ๑ ชื่อ พรม(ชาย)
คนที่ ๒ ชื่อ ทับ(หญิง)
คนที่ ๓ ชื่อ ทอง(ขุนภุมรา) (ชาย)
คนที่ ๔ ชื่อ เงิน(หลวงพ่อเงิน)
คนที่ ๕ ชื่อ หลํ่า(ชาย)
คนที่ ๖ ชื่อ รอด(หญิง)


นปี พ.ศ. ๒๓๕๖ ขณะนั้นหลวงพ่อเงินอายุได้ ๓ ขวบ
นายช่วงซึ่งเป็นลุงของท่านได้พาหลวงพ่อเงิน ไปอยู่กรุงเทพฯด้วยนายช่วงได้อุปการะเลี้ยงดูหลวงพ่อเงินจนกระทั่งเติบโตมี อายุจะเข้าศึกษาเล่าเรียนได้จึงได้นำหลวงพ่อไปฝากไว้ที่วัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) จังหวัดพระนคร หลังจากนั้นท่านก็ได้เรียนหนังสือที่วัดชนะสงคราม ตลอดมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๔๖๕ ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรขณะนั้นอายุได้ ๑๒ ปี หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ได้ศึกษาธรรมวินัยและเวทมนต์คาถาอาคมต่าง ๆ จนถึงขั้นแตกฉาน พออายุใกล้จะอุปสมบทได้ท่านก็สึกจากสามเณรเป็นฆราวาส

 
หลังจากที่ท่านได้สึกจากสามเณรแล้ว ก็มาอยู่กับพี่ชายและพี่สะใภ้ ต่อมาท่านได้มีคู่รักคนหนึ่ง ชื่อ เงินเหมือน กันกับท่าน สมัยก่อนนั้นหนุ่มสาวรักกันจะหาโอกาสพบกันได้ยากมากจะได้พบกันก็เนื่องจาก วันพระไปทำบุญตักบาตรเท่านั้น และวันหนึ่งจะด้วยเหตุดลใจอะไรไม่มีใครรู้ได้ ท่านได้คุยกับพี่สะใภ้ถึงเรื่องการแต่งงาน พี่สะใภ้ก็พูดล้อเล่นว่าอย่าแต่งงานเลยบวชดีกว่า เมื่อได้ยินพี่สะใภ้พูดอย่างนั้น ท่านจึงขอโทษพี่สะใภ้ ขอจับ “นม” พี่สะใภ้ก็ให้จับแต่โดยดี เมื่อหลวงพ่อเงินจับนมพี่สะใภ้แล้ว ก็เอามือมาบีบน่องของตนเองแล้วก็อุทานว่า “นม” กับ “น่อง”ก็ เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้หลวงพ่อเงินตัดสินใจบวชไม่สึกเลยจนกระทั่งมรณภาพเมื่ออายุครบปีบวชท่าน ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดตองปุ(วัดชนะสงคราม) และได้จำพรรษาอยู่ณ วัดนี้ ในระหว่างอุปสมบทได้ปฏิบัติธรรมวินัยและรํ่าเรียนทางวิปัสสนาอยู่ได้ ๓ พรรษาหลังจาก ท่านอุปสมบทคู่รักท่านได้ปักตาลปัตรมาถวายท่าน ๑ อันต่อมาปู่ของท่านป่วยหนัก ทางบ้านจึงให้พี่ชายชื่อทองไปนิมนต์หลวงพ่อเงินให้มาจำพรรษาที่วัดคงคาราม(วัดบางคลานใต้) หลวงพ่ออยู่วัดนี้ได้ ๑ พรรษา

หลวงพ่อเงินเนื่อง จากวัดนี้ มีหลวงพ่ออุปัชฌาย์โห้เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นพระที่เรืองวิชาเหมือนกันชอบเล่นแร่แปรธาตุ นอกจากนี้หลวงพ่ออุปัชฌาย์ท่านยังชอบเทศน์ชาดก(แหล่เป็นทำนอง) การซ้อมแหล่ของหลวงพ่ออุปัชฌาย์โห้เสียงดัง หลวงพ่อเงินคงจะไม่พอใจ เพราะท่านเป็นพระที่เคร่งทางธรรมวินัย และวิปัสสนา ชอบแต่ความสงบเพื่อผลทางวิปัสสนากรรมฐาน ท่านจึงได้ย้ายวัดจากวัดคงคารามไปอยู่ที่หมู่บ้าน วังตะโก ลึกเข้าไปทางลำนํ้าน่านเก่าห่างจากวัดคงคารามคนละฝั่งแม่นํ้ายม

วัดวังตะโกเมื่อออกจากวัดคงคารามแล้ว หลวงพ่อก็มาปลูกกุฏิด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงแฝก อยู่ที่หมู่บ้าน วังตะโก หลวงพ่อเคยพูดว่า ชาติเสือไม่ต้องขอเนื้อใครกินก่อน ที่หลวงพ่อจะออกจากวัดคงคารามได้นำกิ่งโพธิ์จากวัดมาด้วย๑ กิ่ง มาปักไว้ที่หน้าตลิ่ง(ตรงกับที่หน้าพระอุโบสถ) พร้อมกันนั้นหลวงพ่อได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าจะเจริญรุ่งเรืองขอให้ต้นโพธิ์นี้เจริญงอกงามแผ่กิ่งก้านสาขากว้างใหญ่ กาลต่อมาปรากฏว่าต้นโพธิ์ของท่านได้เจริญงอกงาม สมดังคำอธิษฐานนับตั้งแต่นั้นตลอดมาวัดวังตะโกหรือวัดหิรัญญารามก็เจริญ รุ่งเรืองตามลำดับ มีการสร้างกุฏิด้วยไม้สักหลังคามุงด้วยกระเบื้อง หลายหลัง มีศาลาวิหารและพระอุโบสถชื่อเสียงของหลวงพ่อได้ขจรไปทั่วทุกทิศานุทิศ มีประชาชนเคารพนับถือท่านมาก มีคนมาหาท่านมิได้ขาดเพื่อถวายตัวเป็นลูกศิษย์ เพื่อขอเครื่องรางของขลัง เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เพื่ออาบนํ้ามนต์ มีเรื่องเล่าว่านํ้ามนต์ของท่านที่ประชาชนอาบไหลลงสู่แม่นํ้าไม่ขาดสายต่อมา หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับสมณศักดิ์ให้เป็นท่านเจ้าคุณฝ่ายวิปัสสนาจารย์


ลักษณะเด่นประจำตัวของหลวงพ่อตามปกติหลวงพ่อจะออกมานั่ง รับแขกที่หน้ากุฏิมิได้เบื่อหน่าย การนั่งที่ท่านชอบมากที่สุดคือ นั่งขัดสมาธิ เข่าด้านซ้ายจะยกขึ้นนิดหน่อย ในขณะที่หลวงพ่อนั่งคุยกับแขกมักจะถือบุหรี่ตลอดเวลา แต่ถ้านั่งทำนํ้ามนต์ หลวงพ่อจะเอาบุหรี่คีบไว้ที่ง่ามเท้าขวาตลอดเวลา ถ้าบุหรี่ดับก็หยิบขึ้นมาจุดสูบใหม่ นี่คือลักษณะพิเศษของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

 
งานประจำปีวัดบางคลานงาน ประจำปีปิดทองไหว้พระในเดือนสิบเอ็ดของทุก ๆ ปี ในสมัยนั้นเห็นจะไม่มีวัดใดจัดงานได้สนุกสนานและมีประชาชนหลั่งไหลมาเที่ยว อย่างมากมายเหมือนวัดหลวงพ่อเงิน สิ่งที่ดึงดูดความสนใจของประชาชน ให้มาเที่ยวงานคือ เรือเพลง และการแข่งขันเรือยาว ซึ่งนิยมกันมากในสมัยนั้น เรือยาวที่มีชื่อเสียงโด่งดังได้แก่ เรือประดู่หนองดง เรือสาวน้อย เรือดาวเรือง เรือสวรรค์ลอยล่อง เรือพวงมาลัย เรือจระเข้ นอกจากเรือดังกล่าวแล้วยังมีเรืออีกหลายลำ ที่จำชื่อไม่ได้(ที่สามารถระบุชื่อได้ก็เพราะสอบความจากบุคคลที่ยังมีชีวิต อยู่ในปัจจุบัน)สำหรับเรือที่ชนะเลิศในสมัยนั้น ได้แก่ เรือจระเข้เป็นเรือของวัดบ้านน้อยซึ่งขุดด้วยต้นตะเคียนทั้งต้น มีเรื่องเล่ากันว่าก่อนที่จะนำลงแข่งทุกครั้งจะต้องมีการแต่งตัวและเซ่นแม่ ย่านาง พอคนทรงทำพิธีเท่านั้น เรือจระเข้จะแล่นลงนํ้าเอง และเมื่อเวลาแข่งแทบจะไม่ต้องพายเท่าไรเลย เพราะแรงแม่ย่านางหลวงพ่อเป็นผู้มีนโยบายอย่างยอดเยี่ยมในการเรียกคนเข้ามา เที่ยวงานประจำปีในวัดของท่าน คือท่านจะนำผ้าป่า กฐินไปทอดตามวัดต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงแล้วก็นำเรือยาวที่ประชาชนขุดมาถวายไปมอบไว้ตามวัด ต่างๆ เหล่านั้นด้วย พอถึงฤดูเทศกาลปิดทองพระในเดือนสิบเอ็ดก็ให้วัดต่าง ๆ เหล่านั้นนำเรือยาวไป แข่งด้วย การคมนาคมในสมัยนั้นต้องเดินด้วยเท้า แต่ถ้าไม่เดินด้วยเท้าก็ต้องใช้เรือพายทางนํ้าประชาชนที่หลั่งไหลมาเที่ยว งานจากท้องถิ่นต่าง ๆ ก็จะนำเรือมาจอดที่หน้าวัดบางคลานแทบจะหาที่จอดไม่ได้ ต้องผูกเรือต่อ ๆ กัน จนเต็มแม่นํ้าไปหมดนับว่าเป็นงานที่มีคนมาเที่ยวมากที่สุดในสมัยนั้น

 
หลวงพ่อเงินรักษาโรคหลวง พ่อเงินนอกจากท่านจะเป็นพระที่เรืองวิชาแล้ว ท่านยังมีสติปัญญาที่จัดอยู่ในขั้นอัจฉริยะ อีกด้วย เพราะท่านเป็นหมอโบราณที่เก่งกาจ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ประชาชนที่มารับการรักษา วิธีการรักษา ของท่านก็ใช้นํ้ามนต์ และบางทีก็ใช้สมุนไพร สำหรับสมุนไพรนั้นท่านจะจัดให้ไปต้มกิน ในไม่ช้าโรคที่เป็นก็จะหายป่วย ขณะนี้ตำรายาของหลวงพ่อเงินยังอยู่ที่วัดบางคลานเป็นสมุดข่อย ซึ่งทางวัดเก็บรักษาไว้อย่างดี ท่านผู้สนใจไปขอดูได้จากเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน


หลวงพ่อเงินกับเจ้านายทางกรุงเทพฯด้วยความเชื่อถือของ
ประชาชนโดยทั่วไปนี้เอง ทำให้ชื่อเสียงของท่านลือกระฉ่อนไปทั่วทุกสารทิศได้มีเจ้านายทางกรุงเทพฯ ขึ้นมาหาท่านและขอเล่าเรียนวิชาจากท่านในสมัยนั้นมีหลายองค์ที่จำได้ก็มี สมเด็จมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จมาอยู่ที่วัดบางคลานหลายวัน เข้าใจว่าจะมาเรียนวิปัสสนากรรมฐานนอกจากนี้ยังมีผู้เล่าว่ากรมหลวงชุมพรเขต รอุดมศักดิ์ในสมัยนั้นยังทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นอยู่ได้เสด็จมาที่วัดบาง คลานเพื่อเล่าเรียนวิชาจากหลวงพ่อด้วย รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ มีดังนี้
กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ท่านกำลังแสวงหาความรู้เกี่ยวกับทางด้านไสยศาสตร์ ขณะนั้น เป็นศิษย์

  

ของหลวงพ่อ ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่าและได้ศึกษาเล่าเรียนจนจบสิ้นกรมหลวงชุมพรฯ จึงได้ถามหลวงพ่อศุขว่า นอกจากพระคุณท่านแล้ว ยังมีพระอาจารย์องค์ใดที่มีความรู้เก่งกล้าเหนือกว่าพระคุณท่าน หรือพอ ๆ กับพระคุณท่าน หลวงพ่อสุขจึงได้ทูลไปว่านอกจากท่านแล้วยังมีพระอีกรูปหนึ่ง อยู่ที่อำเภอบางคลานจังหวัดพิจิตรซึ่งเป็นพระเถระที่ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระ สูงรูปหนึ่ง เป็นเพื่อนกันและเป็นศิษย์อยู่ในสำนักเดียวกัน แต่มีพรรษาแก่กว่า ชื่อหลวงพ่อเงิน ถ้าหากกรมหลวงชุมพร มีความประสงค์จะไปศึกษาเล่าเรียนและฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ก็จะมีหนังสือฝากตัวไปให้ เมื่อได้ทรงทราบดังนั้นแล้ว กรมหลวงชุมพรฯ จึงได้ออกเดินทางพร้อมด้วยทหารและมหาดเล็กคนสนิท โดยทางเรือมายังวัดบางคลาน เมื่อกรมหลวงชุมพรฯ ได้เสด็จมาถึงวัดปรากฏว่า หลวงพ่อเงินไม่อยู่ ได้รับคำบอกเล่าจากพระที่วัดว่า หลวงพ่อท่านสั่งไว้ว่าจะไปจำพรรษาที่วัดท้ายนํ้า ด้วยเชาว์ปัญญาของกรมหลวงชุมพรฯ พระองค์ทำเป็นเสด็จกลับ พอตกตอนเย็นก็ได้เสด็จย้อนกลับมาที่วัดอีก พอพลบคํ่าพอดี เมื่อเสด็จมาถึงวัดก็พบหลวงพ่อเงิน ซึ่งยืนรอรับเสด็จอยู่แล้ว หลวงพ่อเงินหัวเราะชอบใจ และชอบในเชาว์ปัญญาของ กรมหลวงชุมพรฯ พระองค์ท่านได้อยู่เล่าเรียนกับหลวงพ่อเงินประมาณ ๒๐ วัน ในระหว่างที่ทรงศึกษาเล่าเรียนอยู่นั้น ท่านไม่ค่อยได้ออกมารับแขกบ่อยนัก พอถึงเวลาก็เรียนวิปัสสนา ท่านต้องเคร่งมากเพราะต้อง ควบคุมสติตลอดเวลา นั่งวิปัสสนาขนาดเทียนหนัก ๒ บาท จะต้องรอให้เทียนหมดเล่มก่อน ซึ่งก็ใช้เวลาตั้งแต่หัวคํ่า บางคืนก็ถึงสว่าง(จากคำบอกเล่าของนายตุ๊ โตสุวรรณ) ซึ่งเป็นผู้ที่รู้เรื่องการนั่งวิปัสสนาของหลวงพ่อเป็นอย่างดี เมื่อกรมหลวงชุมพรฯ ได้ศึกษาเล่าเรียนจบแล้วก็ได้เสด็จกลับ
 
กาลอวสานแห่งชีวิตโรค ประจำตัวของหลวงพ่อเงินคือ โรคริดสีดวงทวาร ท่านรักษาตัวของท่านเองบางทีก็หายไปนานแล้ว กลับมาเป็นอีกหลวงพ่อเคยบ่นว่า“คนอื่นร้อยคนพันคนรักษาให้หายได้ แต่พอผงเข้าตาตนเองกับรักษาไม่ได้” ต่อจากนั้นไม่นานโรคเก่าของท่านก็กำเริบเป็นพิษมากขึ้นและแล้วกาลอวสานของ หลวงพ่อก็มาถึง เมื่อวันศุกร์ แรม ๑๑ คํ่า เดือน ๑๐ ปีมะแม ตรงกับ พ.ศ.๒๔๖๒ (ข้อสังเกตวันเกิดและวันมรณภาพของ ท่านเป็นวันเดียวกัน คือวันศุกร์) รวมอายุของท่านได้ ๑๐๙ ปีการมรณภาพของหลวงพ่อทำความเศร้าโศกเสียใจให้แก่บรรดาศิษย์ และผู้ที่เคารพนับถือ อย่างมากบรรยากาศในวัดวังตะโกเงียบเหงา ซึมเศร้า ชาวพิจิตรได้สูญเสียเพชรเม็ดเอกไปเสียแล้ว การอาบนํ้าศพในวันนั้น มีประชาชนหลั่งไหลไปเป็นจำนวนมากเพื่ออาบนํ้าศพของหลวงพ่อ เหตุการณ์ในวันอาบนํ้าศพนั้นจะมีประชาชนเอาขันนํ้า ขวดนํ้า ถังนํ้าไปรองรับนํ้าที่อาบศพอยู่ใต้ถุนศาลา เพื่อนำไปบูชาเพราะถือว่าเป็นของ ศักดิ์สิทธิ์ นอกจากจะแย่งนํ้าอาบศพแล้ว ประชาชนต่างก็แย่งจีวรของหลวงพ่อออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพื่อนำไปเป็นของคงกระพันชาตรี(สมัยนั้นหลวงพ่อเงินใช้จีวรแพรบาง ๆ) เดี๋ยวนี้ผู้ที่มีจีวรของหลวงพ่ออยู่จะหวงแหนมากเพราะถือว่าเป็นของดีที่หา ได้ยากมากอย่างหนึ่ง

 
การฌาปนกิจศพหลวงพ่อเงินคณะ ศิษยานุศิษย์และบรรดาญาติโยมทั้งหลายได้ทำการฌาปนกิจศพ หลวงพ่อเงินเมื่อเดือน ๔ ปีวอก พ.ศ.๒๔๖๓ ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจศพนั้นได้มีการขุดศพของหลวงพ่อเงินขึ้นมาเพื่อชำระ ล้างกระดูก ในการขุดครั้งนั้น(กำนันขจร สอนขำ กำนันตำบลบางคลานเป็นผู้เล่าให้ผู้เขียนฟัง)


นายปลิ้ว ทองเผือก เป็นผู้ชำระล้างทำความสะอาดซากศพของหลวงพ่อ นายปลิ้ว ทองเผือก จึงได้เก็บกระดูกหัวเข่า(ลูกสะบ้า) ของหลวงพ่อ เข้าไว้เพราะถือว่า อาจารย์ดีนั้นจะต้องดีทั้งตัวฉะนั้นกระดูกหลวงพ่อชิ้นนี้จึงไม่ได้เผา ตกทอดเป็นสมบัติของ นายปลิ้ว ต่อมานายปลิ้ว มีญาติชื่อ นายหมอ ทองเผือก จึงได้แบ่งกระดูกไปให้ส่วนหนึ่ง และเมื่อนายหมอมีบุตร ก็ได้แบ่งให้บุตรอีก บุตรของนายหมอ ทองเผือก เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖ ตำบลบางคลาน ชื่อนายสนิท ทองเผือก ปัจจุบันกระดูกของหลวงพ่อส่วนนี้ได้ถูกตัดแบ่งออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยใน ตระกูลทองเผือกสำหรับ กระดูกของหลวงพ่อที่เผาแล้วมีอยู่ที่กำนันตำบลบางคลาน คือ กำนันขจร สอนขำท่านกำนันบอกว่า เป็นมรดกตกทอดมาจากย่าทวด ซึ่งย่าทวดของกำนันได้เอากระดูกมาทำหัวแหวนแทนพลอยสีของกระดูกขาวนวล เมื่อส่องดูด้วยกล้องจะเห็นเป็นขุยเด่นชัด ท่านกำนันเล่าว่าเมื่อได้มาใหม่ ๆ ดมดูกลิ่นหอม เหมือนกระแจะจันทน์ ขณะนี้ดมดูก็ยังหอมอยู่ ความหอมของกระดูกนี้พอจะสันนิษฐานได้ว่า หลังจากฌาปนกิจศพตอนเก็บกระดูก อาจจะถูกพรมด้วยนํ้าหอมก็ได้จึงมีกลิ่นหอมติดอยู่ปัจจุบันกระดูกชิ้นนี้สึก กร่อนไปบ้างทั้งนี้เนื่องจากมีผู้มาขอดูและขออนุญาตเอาขี้ผึ้งมาแตะที่ กระดูกเมื่อแตะแล้วก็ถือว่าขึ้ผึ้งก้อนนี้เป็นของขลังบางคนก็มาขอเอามีดแกะ ไป ต่อมาภายหลังกำนันไม่ยอมให้ใครดู เก็บรักษาไว้อย่างดีในวันฌาปนกิจศพมีประชาชนไปร่วมงานเป็นจำนวนมากเพราะถือ ว่าหลวงพ่อเงินเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง และเป็นมิ่งขวัญของขาวพิจิตรทุกคน

 
ลูกประคำหลวงพ่อเงินลูก ประคำของหลวงพ่อเงินนี้ เป็นของโปรดของท่านเพราะท่านใช้ประจำในขณะนั่งวิปัสสนากรรมฐาน หรือพูดอย่างง่าย ๆ คือ นั่งไป นับไปนั่นเอง สมัยนั้น นายเป๋ อ่อนละมัย ซึ่งเป็นชาวบ้านบางคลาน บวชและได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงิน จนได้รับความไว้วางใจ และเป็นผู้อยู่ใกล้ชิดคอยรับใช้หลวงพ่อตลอดเวลา พระเป๋ อ่อนละมัย บวชอยู่กับหลวงพ่อท่านถึง ๘ พรรษา หลังจากนั้นก็สึก หลวงพ่อจึงได้มอบลูกประคำให้แก่ทิดเป๋ ลูกประคำของหลวงพ่อทำด้วยงาช้างและกะลามะพร้าว กับพระธาตุฉิมพลี ที่โตที่สุดในประเทศไทย ใหญ่ขนาดเท่าเม็ดมะขามป้อม(พระธาตุฉิมพลีนี้เคยนำออกมาให้คุณปรีชา เอี่ยมธรรม แห่งอภินิหาร และพระเครื่องชม ถึงกับอุทานว่าไม่เคยเห็นพระธาตุองค์ไหนจะใหญ่โตเท่านี้)

หลวงพ่อได้บอกกับนายเป๋ว่า จงเก็บรักษาไว้ให้ดี ของนี้เมื่อถึงคราวจนก็ไม่จนเมื่อถึงคราวยาก ก็ไม่ยาก นายเป๋ก็เก็บรักษาไว้อย่างดีตามคำของหลวงพ่อ ต่อมานายเป๋ตาย ลูกประคำนี้จึงได้ตกมาอยู่กับ__นายแชวง อ่อนละมัย ผู้เป็นบุตรตามคำบอกเล่าของนายแชวง อ่อนละมัย เล่าว่า วันหนึ่งในฤดูนํ้าท่วม มีแขกมาเยี่ยมบ้านและขอชมลูกประคำ ขณะที่ยกออกมานั้นลูกประคำตกจากพาน เชือกขาดลูกประคำหลุดกระเด็นตกใต้ถุนบ้านซึ่ง นํ้าท่วม หายไปบางส่วน หลังจากนั้นนายแชวงได้จุดธูปเทียนขอขมาลาโทษ เมื่อนํ้าลดแล้วปรากฏว่าเม็ดลูกประคำไปกองอยู่รวมกันที่กอมะลิ ซึ่งอยู่ข้างล่างทางขึ้นบ้าน เมื่อเก็บมาได้แล้วก็นำมาร้อยเข้าพวงอย่างเดิมครบ ๑๐๘ เม็ด ลูกประคำนี้ถือว่าเป็นยอดแห่งวัตถุมงคลชิ้นหนึ่งของหลวงพ่อเงิน ปัจจุบันลูกประคำยังคงอยู่ในสภาพเดิม เจ้าของรักและหวงแหนอย่างมาก


อภินิหารลูกประคำวันหนึ่ง มีผู้ร้ายจะเข้ามาปล้นบ้านตาเป๋ แต่เข้ามาปล้นไม่ได้เพราะเกิดอัศจรรย์อากาศหนาวเย็นจัด พวกผู้ร้ายเห็นผิดปกติ จึงไม่กล้าเข้าไปปล้น คิดว่าบ้านนี้คงจะมีอะไรดีแน่ๆ เหตุที่ตาเป๋รอดพ้นจากการถูกปล้นเพราะอภินิหารของลูกประคำของหลวงพ่อเงินโดย แท้


ชานหมากหลวงพ่อเงินจากการ เปิดกรุวิหาร วัดบางคลาน โดยมีนายชุมพล โภคะกุล อดีตนายอำเภอโพทะเล เป็นประธาน นอกจากจะพบพระพิมพ์ต่าง ๆ ของหลวงพ่อเงินแล้ว ยังพบชานหมากของหลวงพ่อเงิน ๔ เม็ด ลักษณะของชานหมากเป็นรูปหัวใจ ปัจจุบันนี้ชานหมากเหล่านี้ได้ตกเป็นสมบัติของบุคคลดังนี้ คือ
๑. คุณวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ ๑ เม็ด
๒. จ่าตำรวจคนหนึ่งที่อำเภอโพทะเล ๑ เม็ด
๓. นายอำเภอชุมพล โภคะกุล (ภายหลังมอบให้ทหาร) ๑ เม็ด
๔. อีกเม็ดหนึ่งหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
อภินิหารชานหมากหลังจากนายอำเภอชุมพล โภคะกุล ได้มอบชานหมากให้แก่ทหารคนหนึ่งไปแล้วทหารคนนี้ก็สมัครไปรบสงครามเกาหลี ปรากฏว่าเกิดการยิงต่อสู่กับฝ่ายตรงข้าม ทหารผู้นี้ถูกยิงปรากฎว่ากระสุนปืนไม่เข้าจึงได้จดหมายมาเล่าให้นายอำเภอฟัง ถึงอภินิหารชานหมาก


ตะกรุดของหลวงพ่อเงินในสมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ทำตะกรุดอีกด้วย เท่าที่เห็นมีหลักฐาน


แน่นอนได้แก่ตะกรุดสามกษัตริย์ ทอง-นาก-เงิน จากคำยืนยันของนางกิมลุ้ย ตลาดอำเภอบางมูลนากว่า แต่เดิมนั้นนางกิมลุ้ยกับพี่ชายเดิมเป็นคนโพทะเล มักจะนำข้าวต้มหมูไปถวายหลวงพ่อเงินเป็นประจำ เพราะข้าวต้มหมูเป็นของโปรดของ หลวงพ่อเงิน การเดินทางไปมาบ่อย ๆ นี้ ทำให้หลวงพ่อเป็นห่วงจึงได้มอบตะกรุดสามกษัตริย์ให้แก่พี่ชายไว้ป้องกันคุ้ม ครองภัย หลังจากพี่ชายของนางกิมลุ้ยตาย ตะกรุดสามกษัตริย์จึงตกเป็นของนางกิมลุ้ยน้องสาวปัจจุบันตะกรุดสามกษัตริย์ ได้ตกมาเป็นสมบัติของคุณวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ อดีตกำนันตำบล หัวดงท่านผู้สนใจจะมาขอชมได้ทุกโอกาส


วัดบางคลาน
ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเงินจาก คำบอกเล่าของกำนันโชติ สนสกุล หลวง
พ่อเงินเป็นหลวงพ่อที่มีอภินิหารศักดิ์สิทธิ์และพิสดารมากในระหว่างที่ ท่านยังมีชีวิตอยู่หลายประการ แม้ท่านได้จากเราไปเป็นเวลานานแล้วความศักดิ์สิทธิ์ของท่านก็ยังมิได้สูญหาย จากเราไป จะขอเล่าให้ฟังตามที่ได้สดับตรับฟังมาจากท่านผู้ใหญ่ที่อายุมาก ๆ เพียงย่อ ๆ กล่าวคือ

. ถ่ายรูปหลวงพ่อเงินไม่ติด 

ในระหว่างที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ผู้คนบ้านใกล้เมืองไกลไปมาหาสู่ท่านไม่ขาดระยะ คราวหนึ่งมีคนต่างชาติคือ คนแขกมา ขอถ่ายรูปของท่านกระจกหน้ากล้องแตก ครั้งที่สองถ่ายอีกคือถ่ายตรง ๆ หน้าพอเอาไปล้างรูปดูแล้ว ปรากฏว่าไม่ติดหมดทั้งหน้า ติดหน้าเพียงแถบเดียว นี่คืออภินิหาร ของหลวงพ่อเงิน

. การหล่อรูปจำลองของหลวงพ่อเงินเมื่อ หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ประชาชนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อได้ตกลงกัน จัดการหล่อรูปจำลองของท่านไว้ ในการเททองหล่อรูปเททองไม่ติด ทำอย่างไรก็ไม่ติด จึงนิมนต์ท่านมาทำพิธีเททองนั้น ขอร้องให้เทให้ติด หลวงพ่อบอกว่า เอาแต่พอแม้นอย่าให้เหมือนเลยแล้วช่างก็ทำการหล่อใหม่สำเร็จ ดังที่ปรากฏอยู่ที่วัดหิรัญญารามปัจจุบันนี้


. การทำปลอกช้างมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่หลวงพ่อมีช้างหลายเชือก เพื่อสะดวกแก่ผู้เลี้ยงช้างจึงได้จัดการทำ ปลอกช้าง ขึ้นใช้ ในระหว่างที่กำลังสูบเตาสูบเพื่อหลอมเหล็กนั้น เหล็กที่หลอมไม่ละลายเพราะหลวงพ่อนั่งดูอยู่ และแกล้งพูดว่าสูบไม่ดีเหล็กจึงไม่ละลายจนกระทั่งลูกศิษย์ของท่าน ต้องการจะให้หลวงพ่อขึ้นไปฉันอาหารบนกุฏิเสียจะได้ทำให้สำเร็จ และเมื่อหลวงพ่อจะลุกขึ้นไปฉันอาหารบนกุฏิท่านแกล้งเอาจีวรทิ้งใส่ลงไปในเตา สูบนั้น พวกลูกศิษย์ตะลึงและแกล้งสูบใหญ่เพื่อให้ไหม้ไฟ สูบอยู่นานจนควันเขียวแล้วก็แดง ครั้นเอาคีมคีบขึ้นมาจับดูปรากฏว่าจีวรไม่ไหม้ไฟแต่อย่างใด พวกลูกศิษย์ที่ช่วยกันทำปลอกช้างนั้น จึงแย่งฉีกชายจีวรนั้นมาผูกคอคนละชิ้นสองชิ้น เมื่อท่านฉันอาหารเสร็จแล้วจึงลงมาดูที่ที่ทำปลอกช้างนั้น แล้วพูดว่าใครเอาจีวรกูไปไหน พวกลูกศิษย์จึงชี้ไปที่คอซึ่งจีวรหลวงพ่อถูกฉีกเอาไปทำเครื่องรางของขลัง เสียแล้ว ท่านก็ไม่ว่ากระไร นี่คืออภินิหารของหลวงพ่อเงิน ซึ่งศักดิ์สิทธิ์เหลือเกิน จีวรเผาไฟไม่ไหม้


. เชื้อพระวงศ์มาเยี่ยมวัดหลวงพ่อเมื่อ หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ก็ได้มาขออาบนํ้ามนต์กับหลวงพ่อ สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช มาขอเรียนศิลปศาสตร์กับหลวงพ่อด้วย
. สิ่งที่ประทับใจที่ลูกหลานไม่รู้ลืมคือ เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างโรงเรียนประชาบาล ตำบลบางคลาน(เงินอนุสรณ์)ซึ่งปัจจุบันนี้ลูกหลานยังได้ศึกษาเล่าเรียนตราบ เท่าทุกวันนี้ข่าวเล่าลือว่าหลวงพ่อบอกหวยแม่น ก็มีประชาชนไปขอกันมากมาย ภายหลังต่อมาหลวงพ่อเห็นว่าการบอกใบ้หวยเป็นการพนันหลวงพ่อจึงไม่ยอมบอกใคร อีก

 
ลำดับเจ้าอาวาสวัดหิรัญญาราม(วังตะโก) อำเภอโพทะเล
 
หลังจากหลวงพ่อเงินมรณภาพแล้ว ได้มีเจ้าอาวาสวัดหิรัญญารามเรียงตามลำดับดังนี้
๑. อาจารย์แจ๊ะ
๒. อาจารย์ขาว
๓. อาจารย์ยา
๔. อาจารย์ผิน
๕. อาจารย์โชติ
๖. อาจารย์บุญธรรม
๗. อาจารย์เปรื่อง (พระครูพิบูลธรรมเวท)
สำหรับเจ้าอาวาสดังที่กล่าวข้างต้นนี้ อาศัยหลักฐานจากการสอบถามพระครูพิบูลธรรมเวทเจ้าอาวาสวัด
บางคลานในขณะนั้นและนายสนิท จุลพันธ์ เคยบวชอยู่วัดบางคลาน สึกออกมาเป็นมรรคนายก วัดบางคลาน บ้านเกิดอยู่บางคลาน เป็นผู้บอกเล่านามสกุลของเจ้าอาวาสแต่ละองค์ไม่สามารถจำได้เมื่อค้นหา หลักฐานจากทางวัดแล้วไม่มีการจดบันทึกไว้เลย ถึงอย่างไรก็ตามเพียงแต่เราได้หลักฐานเท่านี้ ก็นับว่าพอเพียงแล้ว ซึ่งก็เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจโดยทั่วกัน


อภินิหารน่าอัศจรรย์หลังจากหลวงพ่อเงินได้มรณภาพไปแล้ว

 
. วันทำศพหลวงพ่อเงินคือ เมื่อถึงวันจัดการเผาศพมีประชาชนมากมายเหลือที่จะคณานับ ยื้อแย่งกระดูก จีวร จากตัวท่านเอาไปทำเครื่องรางของขลัง และเอาไปสักการบูชาเพื่อป้องกันภัยต่าง ๆ นับว่าหลวงพ่อเงินมีประชาชนเคารพนับถือและเลื่อมใสในตัวท่านมาก


. วาจาสิทธิ์ของหลวงพ่อเงินหลวง พ่อเงินมีวาจาสิทธิ์มากคนเกรงกลัวกันนักหนา คือ ท่านห้ามมิให้มีเรื่องราวเกิดขึ้นในวัดของท่าน เช่นตีกัน ยิงกัน หรือฉกชิงวิ่งราวไม่ได้เป็นเด็ดขาดถ้าใครขืนทำสืบดูรู้ตัวต้องมีอัน__เป็นไป ต่าง ๆ คือไฟไหม้บ้านบ้าง ตายโหงบ้าง เช่นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ทางวัดมีงานประจำปี มีคนมามากมายเกิดลักทรัพย์ขึ้นในวัด ในที่สุดจับผู้ร้ายได้และถูกฟ้องศาลติดตะราง ส่วนภรรยาของผู้ร้ายได้สาบาน ต่อหน้ารูปจำลองหลวงพ่อเงินว่าสามีของตนไม่ได้เป็นคนลักทรัพย์ ในที่สุดหลังจากเสร็จจากงานปิดทองไหว้พระแล้ว ภรรยาของคนร้ายก็ได้อาเจียนออกมาเป็นโลหิต จนถึงแก่ความตาย อภินิหารของหลวงพ่อเงิน ถ้าใครทำขึ้นในวัดย่อมมีอันเป็นไปให้เห็นดังนี้เสมอจึงมีผู้เกรงกลัวมาก

 
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดหลวงพ่อเงิน

 
. ไม้ละมุดหลวงพ่อเงินละมุด ต้นนี้เมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ขึ้นอยู่หน้ากุฏิของท่านเป็นที่สำหรับอาบ นํ้ามนต์ไม่กี่ปีมานี้ละมุดต้นนี้ตายและตายอยู่ ๓ เดือน ใบยังไม่ร่วง ครั้นต่อมามีคนต่างจังหวัดมาขอเอาไป ทางวัดก็ให้ไปบ้างและเก็บไว้บ้าง เล่ากันว่าที่คนเอาไปๆ ผูกคอโดยทำเป็นพระเครื่องบ้างเลี่ยมทองบ้าง เป็นเครื่องรางของขลังบ้าง เขาว่ายิงไม่เข้าบ้าง ไม่ดังบ้าง ยิงไม่ถูกบ้าง จนกระทั่งเลื่องลือกันไปทุก ๆ แห่งเดี๋ยวนี้ แม้แต่รากละมุดอยู่ในดินก็ขุดคุ้ยเอาไปทำเครื่องรางของขลังกันหมดแล้ว
. กล้วยร้อยหวีแม้ แต่กล้วยซึ่งปลูกไว้ข้างศาลาการเปรียญของหลวงพ่อเงินก็แจกจ่ายกันคนละผลสอง ผลในที่สุด แม้แต่ต้น ใบ ราก ก็เอาไปทำเครื่องรางของขลังกันหมดเหมือนกับต้นละมุดนั่นแหละ


. สัปคับช้าง(อาน ช้าง) หลวงพ่อเงิน หลังจากหลวงพ่อเงินมรณภาพไปแล้วแม้แต่สัปคับช้าง ซึ่งหลวงพ่อเงินเคยขี่ช้างและนั่งสัปคับช้างนั้น ได้เก็บและทิ้งไว้หลังพระอุโบสถหลังเก่าก็มีผู้เอาไปเลี่ยมทองบ้าง เลี่ยมเงินบ้างเอาไปทำเครื่องรางของขลังบ้าง จนกระทั่งหมดไป


. ต้นโพธิ์หลวงพ่อเงินจากคำบอกเล่าของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูพิบูลธรรมเวทเจ้า อาวาสองค์ปัจจุบัน ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเงินที่ปรากฏแก่หลวงพ่อพระครูพิบูลธรรมเวทคือต้น โพธิ์หลวงพ่อเงินปลูกอยู่หน้าพระอุโบสถของท่าน ต้นโพธิ์ต้นนี้มีผู้สูงอายุที่เคยเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงินมาก่อนเล่าให้ ฟังว่าเป็นต้นโพธิ์อธิษฐานเมื่อก่อนที่หลวงพ่อจะย้ายจากวัดคงคาราม(วัดบาง คลานใต้) มาสร้างวัดขึ้นใหม่คือ วัดวังตะโก (วัดหิรัญญาราม ตำบลบางคลานปัจจุบันนี้) ท่านก็ได้นำกิ่งโพธิ์มาหนึ่งกิ่ง แล้วท่านก็มาอธิฐานว่าถ้าจะสร้างวัดตรงนี้แล้วจะเจริญรุ่งเรืองต่อไปในภาย ภาคหน้าก็ขอให้ต้นโพธิ์เจริญงอกงาม



ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล









วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

   
              หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด
























หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด
 
ประวัติหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด จังหวัดปัตตานี
 
     เรื่องราวประวัติของ "หลวงพ่อทวด วัดช้างให้" นั้นเป็นเรื่องราวตามตำนาน กล่าวเล่าสืบต่อกันมาบางตำนานบางตอนของ ประวัติหลวงพ่อทวดผู้เล่าก็อาจเสริมเพิ่มเติมกันไปบ้างเกี่ยวกับเรื่องราว อภินิหารต่างๆ แต่ก็ถือว่ามีเค้าเรื่องจริงเป็นแก่นแท้อยู่ หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่างๆ ซึ่งได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติ ศาสตร์ หนังสือ"ประวัติหลวงพ่อทวด วัดช้างไห้"และเอกสารต่างๆ
  พระเครื่องของ หลวงพ่อทวด ถึงแม้ว่าท่านไม่ได้สร้างเองแต่ในความศักดิ์สิทธิ์นั้น คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ ความนิยมในวัตถุมงคลหรือ พระเครื่อง หลวงปู่ทวด วัดช้างให้  นั้นถือว่าเป็นอมตะควบคู่ไปกับตำนานเล่าขานสืบต่อกันไป ประวัติหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ซึ่งผู้สร้างตำนานแห่งความศักดิ์สิทธิ์ คือ พระอาจารย์ทิม ธมฺมธโร(พระครูวิสัยโสภณ)


รูปถ่ายป้ายวัดช้างให้ ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
ประวัติวัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้)
วัด ราษฎร์บูรณะ หรือวัดช้างให้ ตั้งอยู่ที่ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ชิดกับทางรถไฟสายใต้ (ระหว่างหาดใหญ่-ไปยะลา) วัดช้างให้สร้างขึ้นเมื่อใด ใครเป็นคนสร้างครั้งแรกก็ยังหาหลักฐานแน่นอนไม่ได้ มากนัก ก็พอจะอ้างอิงตามหนังสือตำนานเมืองปัตตานีได้บ้าง ซึ่งหนังสือตำนานเมืองปัตตานีรวบรวมโดย พระศรีบุรีรัฐพิพิธ (สิทธิ์ ณ สงขลา) ดังบทความตอนหนึ่งว่า 

   สมัยพระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรี ปรารถนาต้องการจะหาที่ เพื่อที่จะสร้างเมืองให้ “เจ๊ะสิตี”น้องสาวครอบครอง เมื่อโหรหาฤกษ์ยามดีได้เวลา ท่านเจ้าเมืองก็เสี่ยงสัตย์อธิฐานปล่อยช้างตัวสำคัญคู่บ้านคู่เมืองออกเดิน ป่าหรือเรียกว่า “ช้างอุปการ” เพื่อหาที่ชัยภูมิดีสร้างเมือง ท่านเจ้าเมืองก็ยกพลบริวารเดินตามหลังช้างนั้นไปเป็นเวลาหลายวัน วันหนึ่งช้างได้เดินไปหยุดอยู่ ณ ที่ป่าแห่งหนึ่ง(ที่วัดช้างให้เวลานี้) แล้วเดินวนเวียนร้องขึ้น 3 ครั้งพระยาแก้มดำถือเป็นนิมิตที่ดีจะสร้างเมือง ณ ที่ตรงนี้ แต่น้องสาวตรวจดูแล้วไม่ชอบ พี่ชายก็อธิษฐานให้ช้างดำเนินหาที่ใหม่ต่อไป ได้เดินรอนแรมหลายวัน เวลาตกเย็นวันหนึ่งก็หยุดพักพลบริวารน้อง สาวถือโอกาสออกจากที่พักเดินเล่น บังเอิญขณะนั้นมีกระจงสีขาวผ่องตัวหนึ่ง วิ่งผ่านหน้านางไปนางอยากจะได้กระจงขาวตัวนั้น จึงชวนพวกพี่เลี้ยงวิ่งไล่ล้อมจับ กระจงตัวนั้นได้วิ่งวกไปเวียนมาบนหาดทรายอันขาวสะอาดริมทะเล ( คือตำบล กือเซะเวลานี้ ) ทันใดนั้น กระจงก็ได้อันตรธานหายไป นางเจ๊ะสิตี รู้สึกชอบที่ตรงนี้มากจึงขอให้พี่ชายสร้างเมืองให้ เมื่อพระยาแก้มดำปลูกสร้างเมืองให้น้องสาว และมอบพลบริวารให้ไว้พอสมควรเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ชื่อเมืองนี้ว่า “เมืองปะตานี” ( ปัตตานี ) ขณะนั้นพระยาแก้มดำเดินทางกลับมาถึงภูมิประเทศที่ช้างบอกให้ครั้งแรก ก็รู้สึกเสียดายสถานที่ จึงตกลงใจหยุดพักแรมทำการแผ้วถางป่า และปลูกสร้างขึ้นเป็นวัดให้ชื่อว่า “วัดช้างให้” มาจนบัดนี้ ต่อมาพระยาแก้มดำ ก็ได้มอบถวายวัดช้างให้ แก่ “ท่านลังกา”ครอบครอง พระภิกษุชราองค์นี้ท่านอยู่เมืองไทรบุรีเขาเรียกว่าท่านลังกาเมื่อท่านมา อยู่วัดช้างให้ชาวบ้านเรียกว่าท่านช้างให้เป็นเช่นนี้ตลอดมา

   สมัยโบราณนั้น คนมลายูนับถือศาสนาพุทธ พระยาแก้มดำคนมลายูจึงได้สร้างวัดช้างให้ขึ้น อ้างตามหนังสือของพระยารัตนภักดี เรื่องปัญหาดินแดนไทยกับมลายู หน้า 8 บรรทัด 16 ในหนังสืออิงตามประวัติศาสตร์ว่า พ.ศ.1300 กษัตริย์ครองกรุงศรีวิชัยแห่งปาเล็มบัง มีอานุภาพแผ่ไพศาลอาณาเขตเข้ามาถึงแหลมมลายู และได้ก่อสร้างสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาไว้หลายแห่ง มีผู้พบศิลาจารึกแผ่นหนึ่งที่ นครศรีธรรมราช บันทึกว่า เมื่อพ.ศ.1318 เจ้าเมืองศรีวิชัย ได้มาก่อสร้างพระเจดีย์ที่นครศรีธรรมราชและที่สำคัญอีกแห่งคือ พระพุทธไสยาสน์ในถ้ำที่ภูเขา (วัดหน้าถ้ำ) ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา คาดว่าสร้างเมื่อสมัยกรุงศรีวิชัย ระหว่างพ.ศ.1318-1400 ต่อมามีการปฎิสังขรณ์เพิ่มเติมตามที่เห็นในปัจจุบัน ขณะที่ท่านลังกา"หลวงพ่อทวด"พำนัก อยู่ที่วัดในเมืองไทรบุรีวันหนึ่งอุบาสก อุบาสิกา และลูกศิษย์อยู่พร้อมหน้าท่านได้พูดขึ้นในกลางชุมนุมนั้นว่า ถ้าท่านมรณภาพเมื่อใดขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย และขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเน่าไหลลงสู่พื้นดินที่ตรงนั้นจงเอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้าง หน้าจะเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ อยู่มาไม่นานท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชราคณะศิษย์ผู้เคารพในตัวท่านก็ได้ จัดการตามที่ท่านสั่งโดยพร้อมเพรียงกันเมื่อทำการฌาปณกิจศพท่านเรียบร้อย เมื่อ พ.ศ.2501 พระครูวิสัยโสภณ ได้เดินทางไปบูชามาแล้วทุกสถานที่ แต่ละสถานที่ก็มีสภาพเหมือนสถูปที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อทวดที่ วัดช้างให้เมื่อครั้งยังไม่ได้ตบแต่งสร้างใหม่สอบถามชาวบ้านแถบๆนั้นดู ต่างก็เล่นถึงเรื่องราวที่สืบทอดต่อกันมาให้อาจารย์ทิมและคณะฟังว่าเป็นสถาน ที่ตั้งศพหลวงพ่อทวด เมื่อมาพักแรมมีน้ำเหลืองหยดตกลงพื้นก็เอาไม้ปักทำเครื่องหมายไว้ บางแห่งก็ก่อสร้างเป็นสถูปเจดีย์ก็มี แล้วคณะศิษย์ผู้ไปส่งได้ขอแบ่งเอาอัฐิของท่านแต่ส่วนน้อยนำกลับไปทำสถูปที่ วัด ณ เมืองไทรบุรีไว้เป็นที่เคารพบูชาตลอดจนบัดนี้สมเด็จเจ้าพะโคะกับท่านช้างให้ หรือ"หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" นี้สมัยท่านยังมี ชีวิตมีชื่อที่ใช้เรียกท่าน หลายชื่อเช่น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ ท่านลังกา และท่านช้างให้ แต่เมื่อท่านมรณภาพแล้วเรียกเขื่อนหรือสถูปศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอัฐิของท่าน ว่า “เขื่อนท่านช้างให้” เขื่อน หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด (คำว่าเขื่อนเป็นภาษพื้นเมืองทางใต้ หมายถึงสถูปที่บรรจุอัฐิของท่านผู้มีบุญนั่นเอง) เมื่อ พ.ศ. 2480 พระครูมนูญสมณการ วัดลานุภาพ ได้ชวนชาวบ้านช้างให้และใกล้เคียงไปทำการแผ้วถางวัดร้างแห่งนี้ โดยจัดบูรณะให้เป็นวัดมีพระสงฆ์เข้าจำพรรษาและในปีนั้นเอง ได้ให้พระภิกษุช่วงมาอยู่ก็ได้มีการจัดสร้างถาวรวัตถุ ขึ้น เช่นศาลาการเปรียญ และกฏิ2-3หลัง ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2484 พระภิกษุช่วงก็ได้ลาสิกขาบท วัดช้างให้จึงขาดเจ้าอาวาสและผู้นำลง พระครูภัทรกรณ์โกวิท เจ้าอาวาสวัดนาประดู่ จึงได้ให้พระภิกษุทิม (พระครูวิสัยโสภณ) ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ตามที่ชาวบ้านขอมา  พระภิกษุทิม ได้ย้ายไปอยู่วัดช้างให้ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2484 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น15ค่ำเดือน8 พระภิกษุทิม มาอยู่วัดช้างให้ตอนแรก ก็ไปๆมาๆอยู่กับวัดนาประดู่ กลางวันต้องไปสอนนักธรรมวัดนาประดู่
 

 
สถูปศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอัฐิของหลวงพ่อทวด ว่า “เขื่อนท่านช้างให้”


พระอาจารย์ทิม และพระอาจารย์นอง

    สถูปบรรจุอัฐิ"หลวงพ่อทวด"นั้น พระครูวิสัยโสภณ และพระครูธรรมกิจโกศล (พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว) ได้ปรึกษาหารือกันตกลงให้รื้อขุดของเก่าขึ้นมาเพื่อสร้างใหม่ แต่เมื่อขุดลงไปก็ได้พบหม้อทองเหลืองและมีอัฐิหลวงพ่อทวดห่อผ้าอยู่ในหม้อ ทองเหลืองอีกชั้นหนึ่ง หม้อทองเหลืองได้ผุเปื่อย ไม่กล้าเอามือจับต้องเพราะเกรงสภาพจะผิดเปลี่ยนไปจากสภาพเดิม จึงได้จัดสร้างสถูปสวมครอบลงบนสถูปเดิม ซึ่งปรากฏตามที่เห็นมาในปัจจุบัน วัดช้างให้ มีชื่อเต็ม ๆ ว่า วัดราษฎร์บูรณะ อยู่ที่ ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ห่างจากปัตตานีประมาณ 26 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 1,032 กิโลเมตร ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ตามพระราชกิจจานุเบกษาเล่ม 74 ตอน 15 หน้า 451 - 252 เขตวิสุงคามสีมายาว 80 เมตร กว้าง 40 เมตร ทำพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ มีที่ดินที่ตั้งวัดเป็นเนื้อที่จำนวน 12 ไร่ ตามหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ค. 1 เลขที่ 334/2498 

ประวัติหลวงปู่ทวด ในหนังสือหลวงพ่อทวดของ สมพงษ์ หนูรักษ์ว่า กล่าวว่า
1. ท่านลังกา องค์ท่านดำ ไม่ทราบชื่อเดิม ภูมิลำเนาเดิมที่ใดเป็นเพียงขนานนาม
2. หลวงพ่อสี
3. หลวงพ่อทอง
4. หลวงพ่อจันทร์
5. หลวงพ่อทิม (อาจารย์ทิม ธมฺมธโร) หรือพระครูวิสัยโสภณ ๑ ตำนานที่เล่าขานสืบต่อมาจากคนเฒ่าคนแก่บอกว่าวัดช้างให้หมายความว่าที่ดิน วัดนี้ ช้างบอกให้ เป็นวัดโบราณแห่งหนึ่ง มีอายุประมาณ ๔๐๐ กว่าปี มีเจ้าอาวาสปกครองวัดดังนี้
1. สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ไม่สามารถระบุปีพุทธศักราชได้
2. พระช่วง พ.ศ. 2480 ถึง พ.ศ. 2483
3. พระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมฺมธโร) พ.ศ. 2483 ถึง พ.ศ. 2512
4. พระครูใบฎีกาขาว ธมฺมรกฺขิโต พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2521
5. พระไพศาลสิริวัฒน์ (สวัสดิ์ อรุโณ) พ.ศ. 2521 ถึง 2543
6. พระครูปริยัติกิจโสภณ (สายันต์ จนฺทสโร) พ.ศ. 2543 ถึงปัจจุบัน



พระครูวิสัยโสภณ หรือ พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้

ประวัติพระครูวิสัยโสภณ(อาจารย์ทิม)
พระครูวิสัยโสภณ นามเดิมชื่อ ทิม นามสกุล พรหมประดู่ เกิดวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2455 ปีชวด ณ บ้านนาประดู่ ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นบุตรของ นายอินทอง นางนุ่ม พรหมประดู่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน6คน
     1.นายเพิ่ม พรหมประดู่
     2.พระครูวิสัยโสภณทิม (ทิม พรหมประดู่)
     3.ด.ช.แว้ง พรหมประดู่ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
     4.พระครูใบฎีกาขาว
     5.ด.ญ.แจ้ง พรหมประดู่ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
     6.นายเคี่ยม พรหมประดู่
การศึกษาเมื่อปฐมวัย เมื่ออายุได้ 9ปี บิดามารดาได้นำไปฝากให้อยู่กับพระครูภัทรกรณ์โกวิท(เมื่อยังเป็น พระภิกษุแดง ธมมโชโต) เจ้าอาวาสวัดนาประดู่ ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้านเพื่อให้เรียนหนังสือ และได้เข้าเรียนทีโรงเรียนวัดนาประดู่ เรียนได้เพียง ป.3 แล้วออกจากโรงเรียน แต่ก็ยังอยู่กับพระภิกษุแดง เรียนหนังสือสวดมนต์
     เมื่ออายุได้18ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดนาประดู่ ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 7มิถุนายน 2476
พระครูพิบูลย์สมณวัตร เจ้าคณะใหญ่เมืองหนองจิก วัดมุจลินทวาปีวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการพุฒ ติสสโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการแก้ว เป็นอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนาประดู่ 2พรรษา แล้วยังไปอยุ่สำนักวัดมุจลินทวาปีวิหาร เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ครั้นต่อมาได้กลับมาเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมวัดนาประดู่ ในระหว่างที่เป็นครูสอนนั้น ได้จัดการสร้างกุฏิขึ้น 1หลัง โดยร่วมกันสร้างกับพระภิกษุนอง ธมมภูโต(อาจารย์นอง วัดทรายขาว)
วิทยฐานะในทางพระ สอบนักธรรมชั้นเอกได้ในสนามหลวงวัดพลานุภาพ จังหวัดปัตตานี เมื่อ พ.ศ.2487 ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2484 ขึ้น 15ค่ำ เดือน8 ปีมะเส็ง จ.ศ.1303

    
สรุปหน้าที่ตำแหน่งและสมณะศักดิ์
พ.ศ.2481-84 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมวัดนาประดู่
พ.ศ.2484 ย้ายไปเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้)
พ.ศ.2491 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้)
พ.ศ.2493 เป็นกรรมการสงฆ์อำเภอโคกโพธิ์ ตำแหน่งเผยแผ่อำเภอ
พ.ศ.2499 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นพระครูวิสัยโสภณ
พ.ศ.2508 ได้รับเลื่อนสมณะศักดิ์ในนามเดิม เป็นพระครูชั้นโทพัดยศขาว ฝ่ายวิปัสสนา
พ.ศ.2509 ได้รับตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.2510 ได้เริ่มอาพาธ
- วันที่ 5 พฤศจิกายน 2512 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช หนึ่งสัปดาห์ แล้วกลับไปพักที่วัดเอี่ยมวรนุช บางขุนพรหม 2-3 วันด้วยเหตุยังไม่ตกลงใจผ่าตัดหรือไม่ “ตกลงไม่ผ่า”
- วันที่ 7พฤศจิกายน 2512 ได้ทำหนังสือพินัยกรรม ที่วัดเอี่ยมวรนุช ให้ผู้ที่มีรายชื่อ5ท่าน เป็นผู้รับมอบพินัยกรรม จัดการทรัพย์สินของวัดและดำเนินการในเรื่องต่างๆ
- วันที่ 17 พฤศจิกายน 2512 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกลาง จนกระทั่งถึงวันที่30 พฤศจิกายน 2512 เวลา 00.37 น. มรณภาพ
- วันที่ 24 พฤศจิกายน 2518 พระราชทานเพลิงศพ ท่านอาจารย์ทิม ที่วัดช้างให้ ปัตตานี
สถูปหลวงพ่อทวด วัดช้างให้

ประวัติหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ อันมีสถูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบรรจุอัฐิ หลวงพ่อทวด สถูปนี้ตั้งใกล้กับทางรถไฟ  อดีตวัดแห่งนี้ ประวัติวัดช้างให้เคย เป็นวัดร้างแต่ละครั้งแต่ละหนเป็นเวลาห่างกันนานๆ ตั้งสิบกว่าปีหรือบางครั้งถึงร้อยปีก็มีในปี พ.ศ.2484 พระครูวิสัยโสภณ หรือในที่รู้จักกันในนาม ท่านอาจารย์ทิม ธมมธโร ได้เข้ามาครอบครองเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 5 ได้ทำการบูรณะวัดต่อเติมจนเรียบร้อย ทำให้วัดช้างให้สะอาดสะอ้านขึ้นมาก ทางด้านสถูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบรรจุอัฐิของ หลวงปู่ทวด ประดิษฐานอยู่ที่หน้าวัด เป็นที่จูงใจประชาชนหลายชาติหลายภาษาได้มาเคารพบูชาเป็นจำนวนมากทุกวัน 

     หลังจากท่านอาจารย์ทิม ฝันว่าได้พบกับ หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนอยู่ในเวลานี้ วันหนึ่งท่านอาจารย์ทิมนึกสนุก จึงเก็บเอาก้นเทียนที่ตกอยู่ริมเขื่อน(สถูป) มาคลึงเป็นลูกอมแล้วแจกจ่ายให้กับเด็กวัดไป แต่ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์แก่ท่าน เมื่อเด็กได้ลูกอมก้นเทียนไปแล้ว ก็เอาลูกอมสีผึ้งนี้อมในปาก แล้วลองแทงฟันกันด้วยมีดพร้าและของมีคม แต่แทงฟันกันไม่เข้าเลย จนเรื่องทราบถึงอาจารย์ทิม ท่านก็ตกใจเพราะเกรงเป็นอันตรายกับเด็ก จึงเรียกเด็กมาอบรมสั่งสอนห้ามไม่ให้ทดลองกันต่อไป

      หลังจากนั้นท่านเริ่มสนใจในคำปวารณาของ"หลวงพ่อทวด"ว่า จะเอาอะไรให้ขอ ก็พอดีมีพวกชายหนุ่ม ผู้ชอบทางคงกระพันได้พากันมาของให้อาจารย์สักยันต์ลงกระหม่อมเพื่อไว้คุ้ม ครองตัว ท่านอาจารย์ทิมก็สักให้แล้วระลึกถึงหลวงพ่อทวด แล้วก็สักแต่แต่มือจะพาไปเพราะท่านไม่ได้ศึกษาในเรื่องนี้มา ปรากฏว่าศิษย์ท่านที่มาสักยันต์เกิดไปลองดีกับศิษย์อาจารย์อื่น แล้วไม่มีศิษย์อาจารย์อื่นสู้ได้เลย (ขณะนั้นก่อนหลังสงครามโลกครั้งที่2เล็กน้อย) หลังจากนั้นทางคณะสงฆ์ผู้ใหญ่สั่งห้ามพระภิกษุสักลงกระหม่อม ท่านอาจารย์ทิม จึงงดรับการสักตั้งแต่บัดนั้นมา 
เนื่องจากทราบกิตติศัพท์ในอดีตสมัยที่"หลวงพ่อทวด"เดิน ทางไปยังกรุงศรีอยุธยา ด้วยเรือสำเภา ระหว่างทางได้เกิดพายุพัดจนกระทั่งข้าวปลาอาหารและน้ำดื่มตกลงทะเลไป ลูกเรือกระหายน้ำมาก หลวงพ่อทวดจึงได้แสดงอภินิหารหย่อนเท้าลงไปในทะเล ปรากฏว่าน้ำทะเลในบริเวณนั้นกลายเป็นน้ำจืดและดื่มกินได้ ตั้งแต่นั้นมาชื่อเสียงของท่านขจรขจายไปทั่วหล้า คนได้มาทำการสักการะจนท่านอาจารย์ทิมดำริจะสร้างอุโบสถไว้ เพื่อเป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนาและจะได้เป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสงฆ์ใน วัดได้มาทำสังฆกรรมต่อไปความจริงนั้นครั้งโบราณกาลมา วัดช้างให้เคยมีอุโบสถมาก่อนแล้วแต่ชำรุดสลายตัวไปหมด เพราะเวลาที่ปรากฏเป็นให้เห็นเพียงพัทธสีมาและเนินดินที่เป็นอุโบสถเก่าแก่ เท่านั้น ท่านอาจารย์ทิมจึงได้กำหนดวางศิลาฤกษ์ อันเป็นรากฐานของอุโบสถแห่งใหม่ในวันที่ 6 สิงหาคม 2495 แล้วขุดดินลงรากก่อกำแพงหน้าอุโบสถสืบต่อมาจนถึง พ.ศ.2496 งานก่อสร้างสำเร็จลงเพียงแค่กำแพงอุโบสถโดยรอบเท่านั้นงานก่อสร้างหยุดชะงัก ลงเพราะหมดทุนที่จะใช้จะจ่ายต่อไป 

























   กำเนิดพระเครื่องหลวงปู่ทวด ซึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ.2497 "หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด"เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดช้างให้ได้ประทานนิมิตอัน เป็นมงคลยิ่งแก่ นายอนันต์ คณานุรักษ์ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ห่างจากวัดประมาณ 31 กิโลเมตร ให้สร้างพระเครื่องรางเป็นรูปภิกษุชรา ขึ้นแท่นองค์ของท่าน นายอนันต์นมัสการพร้อมทั้งปรึกษาท่านอาจารย์ทิม และเตรียมงานสร้างพระเครื่องใน วันที่ 19 มีนาคม 2497 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 เวลาเที่ยงตรง ได้ฤกษ์พิธีปลุกเสกเบ้าและพิมพ์พระเครื่องหลวงพ่อทวดเรื่อยมาทุก ๆ วัน จนถึงวันที่ 15 เมษายน 2497 พิมพ์พระเครื่อง"หลวงพ่อทวด"รุ่น แรกได้ 64,000 องค์ ทั้ง ๆ ที่ตั้งใจจะพิมพ์ให้ได้ 84,000องค์ แต่เวลาจำกัดในการพิธีปลุกเสก ก็ต้องหยุดพิมพ์พระเครื่องเพื่อเอาเวลาเตรียมงานพิธีปลุกเสกพระเครื่องหลวงปู่ทวดตาม เวลาที่หลวงพ่อทวดกำหนดให้พระครูปฏิบัติ และแล้ววันอาทิตย์ ที่ 18 เมษายน 2497 ขึ้น 15 ค่ำเวลาเทียงตรงได้ฤกษ์พิธีปลุกเสกพระเครื่องหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ณ เนินดินบริเวณอุโบสถเก่า โดยมีท่านอาจารย์ทิมเป็นอาจารย์ประธานในพิธีและนั่งปรกได้อาราธนาอัญเชิญพระ วิญญาณหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดพร้อมวิญญาณหลวงพ่อสี หลวงพ่อทอง และหลวงพ่อจัน ซึ่งหลวงพ่อทั้งสามองค์นี้สิ่งสถิตอยู่รวมกับหลวงพ่อทวดในสถูปหน้าวัดขอ ให้ท่านประสิทธิ์ประสาทความศักดิ์สิทธิ์ความขลังแด่พระเครื่องฯ นอกจากนั้นก็มี หลวงพ่อสงโฆสโก เจ้าอาวาสวัดพะโคะ พระอุปัชฌาย์ดำ วัดศิลาลอง พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์อาวุโส ณ วัดช้างให้ ร่ายพิธีปลุกเสกพระเครื่องสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เสร็จลงในเวลา 16.00 น. ของวันนั้นท่านอาจารย์ทิมพร้อมด้วยพระภิกษุอาวุโสและคณะกรรมการวัดนำทีมโดย นายอนันต์ คณานุรักษ์ ได้ร่วมกันทำการแจกจ่ายพระเครื่องหลวงพ่อทวดให้แก่ประชาชนผู้เลื่อมใสซึ่งมา คอยรอรับอยู่อย่างคับคั่งจนถึงเวลาเทียงคืนปรากฏว่าในวันนั้น คือ วันที่ 18 เมษายน 2497 กรรมการได้รับเงินจากผู้ใจบุญโมทนาสมทบทุนสร้างอุโบสถเป็นจำนวนเงิน 14,000 บาท หลังจากนั้นมาด้วยอำนาจบุญบารมีอภินิหาร"หลวงพ่อทวด"ได้ ดลบรรดาลให้พี่น้อง หลายชาติหลายภาษาร่วมสามัคคีสละทรัพย์โมทนาสมทบทุนสร้างอุโบสถดำเนินไป เรื่อยๆ มิได้หยุดหยั่งจนถึงวันที่ 19 สิงหาคม 2499 ได้จัดพิธียกช่อฟ้าและวันที่ 31 พฤษภาคม 2501 ได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถหลังนี้จึงสำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์




รูปหล่อหลวงพ่อทวด ที่วัดช้างให้

 
     หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด เกิดเมื่อ วันศุกร์ เดือน4 ปีมะโรง พ.ศ.2125 ณ บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีชื่อว่า “ ปู่ ” หรือ “ ปู ” บิดามีนามว่า (ตาหู) มารดามีนามว่า (นางจันทร์) มีฐานะยากจนปลูกบ้านอาศัยที่ดินเศรษฐีผู้หนึ่งไว้ชื่อ “ปาน” ตาหูและนางจันทร์เป็นข้าทาสของเศรษฐีปาน แห่งเมืองสทิงพระ ระยะที่หลวงพ่อทวดเกิด เป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ข้าวในนา ในระหว่างที่พ่อแม่กำลังเกี่ยวข้าวอยู่ ได้ผูกเปลให้ลูกน้อยนอน ทำงานไปก็คอยเหลียวดูลูกน้อยเป็นระยะ แล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น คือนางจันทร์ได้เห็นงูตัวใหญ่มาพันที่เปลลูกน้อยแล้วชูคอแผ่แม่เบี้ย นายหู-นางจันทร์ได้พนมมือบอกเจ้าที่เจ้าทาง อย่าให้ลูกน้อยได้รับอันตรายใดๆเลย ด้วยอำนาจบารมีของเด็กน้อยเจ้าปู่ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปู่ยังคงนอนหลับปุ๋ยสบายดีอยู่เป็นปกติ แถมมีลูกแก้วกลมใส ขนาดย่อมกว่าลูกหมากเล็กน้อยส่องเป็นประกายอยู่ข้างตัวเด็ก ตาหู นางจันทร์ มีความเชื่อว่าเทวดาแปลงกายเป็นงูใหญ่นำดวงแก้ววิเศษมามอบให้กับลูกของตน เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่อง จึงไปพบตาหู-นางจันทร์แล้วเอ่ยปากขอดวงแก้วนั้นซึ่งตาหู-นางจันทร์ ไม่อาจปฏิเสธได้เศรษฐีปานจึงได้ลูกแก้วไปครอบครอง แต่ไม่นานนักเกิดเหตุวิบัติต่างๆกับครอบครัวของเศรษฐีบ่อยๆ พอหาสาเหตุไม่ได้เลยนึกได้ว่าอาจจะเกิดจากดวงแก้วนี้ จึงนำไปคืนให้ ตาหู-นางจันทร์เจ้าของเดิม  ส่วนตาหู-นางจันทร์เมื่อได้ดวงแก้วกลับคืนมาจึงเก็บรักษาไว้อย่างดี นับแต่นั้นมาฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัว ก็ดีขึ้นเป็นเรื่อยๆ พออายุได้ประมาณ 7ขวบ บิดามารดาพาไปฝากไว้กับ สมภารจวง วัดดีหลวง เพื่อให้เรียนหนังสือ เมื่ออายุได้ 14ปี สมภารจวง วัดดีหลวง จึงบวชเณรให้แล้วพาไปฝากไว้กับพระครูสัทธรรมรังสี วัดสีหยง เพื่อเรียนมูลกัจจายน์

   ท่านพระครูสัทธรรมรังสี องค์นี้ทางคณะสงฆ์ของแผ่นดินจากกรุงศรีอยุธยาได้ส่งท่านมาเผยแพร่ศาสนาและ สั่งสอยธรรมทางภาคใต้ เมื่อ “สามเณรปู่” เรียนอยู่ได้จนอาจารย์ไม่มีอะไรจะสอนแล้วจึงได้แนะนำให้สามเณรปู่ ไปเรียนต่อที่ สำนักพระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อสามเณรปู่ อายุครบ 20ปี พระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง ได้อุปสมบทตามเจตนารมณ์ของสามเณรปู่ และทำญัตติอุปสมบทตั้งฉายาว่า “ สามีราโม” โดยเอาเรือ 4ลำ มาเทียบขนานเข้าเป็นแพ ทำญัตติ ณ คลองเงียบแห่งหนึ่ง ต่อมาก็เรียกคลองนี้ว่า “คลองท่าแพ” มาจนทุกวันนี้ ซึ่งเป็นชื่อจากพิธีกรรมในครั้งอดีต


















พระเครื่องหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ปี2505

ที่มาของคำว่า หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด

    
ประวัติหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ พระภิกษุปู่ เรียนวิชาหลายอย่างในสำนักพระครูกาเดิม 3 พรรษาอาจารย์ก็ไม่มีอะไรจะสอนให้อีกจึงปรึกษากับพระครูกาเดิม ท่านก็บอกถ้าจะศึกษาอีกคงต้องเข้าเมืองหลวงคือกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นที่รวมของสรรพวิชาต่างๆ ก้เลยนำนำให้ไปขอโดยสารเรือสำเภาของนายอิน ที่จะนำสินค้าไปขายในเมืองหลวง เรือสำเภาของนายอินบรรทุกสินค้าหลายอย่างเคยไปมาค้าขายแบบนี้หลายครั้งแล้ว ครั้งนี้เรือสำเภาแล่นไปได้ 3 วัน 3คืน เป็นปกติอยู่ดีๆวันหนึ่ง ไม่ใช่ฤดูมรสุม แต่เกิดพายุพัดจัดลมแรงมากท้องทำเลปั่นป่วน จึงจำเป็นต้องลดใบเรือลงรอคลื่นลมสงบ เลยทำให้อาหารไม่พอ น้ำดื่มไม่มีจะกินกัน โดยเฉพาะน้ำจืดสำคัญที่สุด บรรดาลูกเรือไม่เคยพบเหตุการณ์แบบนี้มาก่อนและอารมณ์เสียทุกคนลงความเห็นว่า เกิดจาอาเพศที่มีพระภิกษุโดยสารมาด้วย จึงตกลงใจให้ไปส่งพระภิกษุปู่(หลวงปู่ทวด)ขึ้น ฝั่ง โดยลงเรือเล็กซึ่งมีพระภิกษุปู่และลูกน้องนายอิน 2 คนลงมาด้วยเพื่อพายไปส่งฝั่งขณะที่นั่งอยู่ในเรือนั้น พระภิกษุปู่จึงบริกรรมคาถาและอธิษฐานจิต แล้วยื่นเท้าออกไปข้างกาบเรือลำเล็ก แล้วแกว่งน้ำให้เป็นวง ขณะนั้นเอง ท่านจึงบอกให้ลูกเรือทั้ง 2คนเอามือกวักชิมน้ำดู ปรากฏว่าน้ำทะเลกลับกลายเป็นน้ำจืด ทุกคนต่างดีใจรีบตักน้ำใส่โอ่งใส่ไห ลูกเรือทุกคนหายโกรธพระภิกษุปู่ โดยเฉพาะนายอิน จึงนิมนต์ให้ท่านร่วมเดินทางต่อจนถึงกรุงศรีอยุธยา

     เมื่อถึงเมืองหลวงสมัยนั้นกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงของไทยเจริญรุ่งเรือง มากมีวัดวาอารามใหญ่ๆโตๆ นายอินได้นิมนต์ พระภิกษุปู่ให้เข้าจำวัดในเมืองหลวงแต่ท่านถือสันโดษ ท่านจึงไปจำพรรษาอยู่ที่วัดแค เขตทุ่งลุมพลีทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติเก่าแก่ กล่าวไว้ว่า หลวงพ่อทวด ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในกรุงศรีอยุธยานานถึง 9ปี คือระหว่าง พ.ศ.2148 -2157 ตอนนั้นพระภิกษุปู่หรือ หลวงพ่อทวด มีอายุแค่ 32 ปี
เจ้าเมืองลังกาท้าพนันแปลพระไตรปิฎก

     เมื่อถึงเวลาที่ผู้คนจะได้รู้จักท่าน ในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ต้องการจะได้กรุงศรีอยุธยาไว้ในอำนาจ แต่ไม่ต้องการที่จะรบราฆ่าฟันกันด้วยอาวุธ จึงคิดกลอุบาลด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้ช่างหลวง นำทองคำจากท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไป หล่อ ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าในราชสำนัก จำนวน 7 ท่านคุมเรือสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์ เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงศรีอยุธยา แล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่า... 

      พระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและ เรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนด 7วันนับแต่วันที่ได้รับ พระราชสาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุ ภาพของพระองค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่ กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย เมื่อ พระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้ ขุนศรีธนนชัย สังฆการี เขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่ว พระมหานคร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาล เวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้ อื้ออึงไปหมด

     ครั้นในคืนที่ 6 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระ แท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่น จากพระบรรทม รุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวาย บังคมทูลว่า เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาล ไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ "พระภิกษุปู่" (หลวงพ่อทวด)  ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้ พระภิกษุปู่ ฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า "เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้" ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร หนังสือตำนานบางเล่นกล่าวว่า...ตอนนี้พระภิกษุปู่ แสดงอาการประหลาด คือเอนกายลงนอนท่าตะแคงสีหไสยาสน์ แล้วลุกขึ้นนั่งตัวตรง ต่อมาก็กระเถิบไปข้างหน้า 5 ครั้งจากนั้นก็นั่งยังที่เดิม ทำให้พราหมณ์ทั้ง 7 คนหัวเราะพระภิกษุปู่ และดูหมิ่นหาว่าท่าแสดงเหมือนเด็กไร้เดียงสา จากนั้นพราหมณ์ จึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่ พระภิกษุปู่ เมื่อท่านได้รับแล้วก็ค่ำบาตรเทอักษรทองคำออกมาแล้วเริ่มต้นเรียงอักษรตาม ลำดับ ตามพระคัมภีร์โดยไม่รอช้า สักพักเดียวก็เสร็จ แต่อักษรขาดหายไป 7 ตัวคือคำ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ดว่าเอาอักษรมาไม่ครบ หรือว่าแอบซุกแอบใว้ที่จุกมวยผมแต่ละคนก็จงนำมาให้เถิด พราหมณ์ผู้เฒ่าทั้ง 7 คนต่างตกใจหน้าซีดคิดไม่ถึงว่ากรุงศรีอยุธยาจะมีพระภิกษุเก่งกล้าเช่นนี้ จนพราหมณ์ผู้เฒ่า ทั้ง 7 สยบยอมแพ้อย่างราบคาบ  พระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงพระสรวลยินดีเป็นอย่างยิ่ง จะถวายทรัพย์สมบัติแก่ท่านแต่ท่านไม่ยอมรับเนื่องจากท่านเป็นสมณะ พระองค์จึงจนพระทัย จึงประกาศ พระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระราชมุนีสวามีรามคุณูปมาจารย์” ตั้งแต่บัดนั้น
หลังจากนั้นกรุง ศรีอยุธยา เกิดโรคห่าระบาดขึ้นอย่างร้ายแรงไปทั่วเมือง ผู้คนล้มตายราวใบไม้ร่วงเพราะไม่มียารักษา ประชาชนเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง สมเด็จพระเอกาทศรถทรงรำลึกถึง ราชมุนีสวามีรามคุณูปมาจารย์ หรือพระภิกษุปู่ ที่จำพรรษาอยู่ที่วัดแค จึงมีรับสั่งให้สังฆการีไปนิมนต์ท่านเข้าวัง พระภิกษุปู่ได้นำเอาลูกแก้วคู่บุญบารมีของท่านแช่น้ำแล้วปลุกเสกน้ำพุทธมนต์ นำไปประพรมทั่วกรุงศรีอยุธยาใครเจ็บป่วยก็มาขอน้ำไปดื่มกิน ปรากฏว่าโรคห่าที่กำลังระบาดไปซบเซาลงและก็เหือดหายไปในเวลาต่อมา บ้านเมืองกลับสู่ปกติสุข ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ทรงมีรับสั่งว่า ถ้าท่านประสงค์สิ่งใดก็ให้ขอแจ้งให้พระองค์ทราบจะจัดถวายอุปถัมภ์ทุกอย่าง
กาลเวลาล่วงเลยต่อมา พระภิกษุปู่ (หลวงพ่อทวด)คิด ถึงบ้านเกิด เลยถวายพระพรทูลลา ต่อสมเด็จพระเอกาทศรถ พระองค์ทรงอาลัยมาก แต่มิอาจทรงขัดได้ จึงตรัสให้ตระเตรียมเรือสำเภาพร้อมข้าทาสบริวารและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น จำนวนมาก แต่ปรากฏว่าพระภิกษุปู่ทรงปฏิเสธท่านต้องการ เมื่อท่านเดินทางถึงบ้านเกิดที่สทิ้งพระ ก็จำพรรษาอยู่ที่วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ ห่างจากตำบลชุมพลบ้านเกิดท่านไม่มากนัก เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็ต่างชื่นชมยินดีเลยพร้อมใจกันตั้งฉายานามให้ท่านใหม่ ว่า สมเด็จเจ้าพะโคะ เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อวัด เมื่อท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะก็เห็นว่าวัดเสื่อมโทรมมากจึงคิดที่จะบูรณะ ซ่อมแซม แต่เนื่องด้วยชาวบ้านแถวนั้นส่วนใหญ่ฐานะยากจน เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบยินดีและทรงให้ช่างและเงินตราจำนวนมาก เพื่อให้พอที่จะบูรณะวัดและจัดเรือสำเภา 7 ลำบรรทุกบรรทุกสิ่งของและอุปกรณ์ก่อสร้าง ตามตำนานกล่าวว่าใช้เวลาหลายปีกว่าจะบูรณะเสร็จ
     
วันหนึ่งขณะที่สมเด็จ เจ้าพะโคะกำลังเดินริมชายฝั่งทะเลหลวง โดยถือไม้ท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัว มีลักษณะแปลกคือ คดไปคดมา และมีรูปร่างคล้ายงู โจรสลัดจีนซึ่งแล่นเรือเลียบชาบฝั่งมาทางนั้นได้เห็นท่านเข้า คิดว่าท่านเป็นคนเผ่าประหลาดเพราะโกนศรีษะและนุ่งห่มไม่เหมือนชาวบ้าน โจรสลัดจีนจึงจับตัวท่านขึ้นเรือ เมื่อเรืออกจากฝั่งไม่นานก็ต้องหยุดนิ่งกลางทะเลเฉยๆเหมือนมีอะไรมาตรึงใว้ แก้ไขอย่างไรก็ไม่ได้ผล เรือจอดนิ่งอยู่เป็นเวลาหลายวันเสบียงน้ำดื่มก็หมดไม่มีจะกิน สมเด็จเจ้าพะโคะท่านเห็นดังนั้นจึงนึกสงสารท่านจึงเหยียบกราบเรือใหญ่ให้ ตะแคงต่ำเรี่ยน้ำลงไปข้างหนึ่ง แล้วยื่นฝ่าเท้าข้างหนึ่งเหยียบลงบนผิวน้ำทะเล สักครู่หนึ่งน้ำทะเลที่เคยใสแจ๋ว กลับขุ่นเหมือนน้ำคลองขึ้นมาทันที ท่านยกเท้าขึ้นแล้วบอกให้พวกโจรลองกินน้ำดู ปรากฏว่าน้ำทะเลบริเวณนั้นจืดสนิท พวกโจรสลัดจีนเห็นดังนั้นจึงรีบก้มกราบเท้าขอขมาโทษฟังไม่ได้ศัพท์กันเลยที เดียว  แล้วนำท่านล่องเรือเล็กกลับขึ้นมาส่งที่ฝั่งในทันที

     ส่วนสาเหตุที่สมเด็จเจ้าพะโคะหายไป(หลวงพ่อทวด)โดย มิได้บอกกล่าวใคร ไม่มีใครรับรู้มาก่อนว่าท่านไปไหนมีความจำเป็นอะไรที่ละทิ้งวัดไปไม่มีใคร รู้ทั้งนั้นนอกจากตัวท่านเอง หนังสือบางเล่มที่เขียนกันมาตอนหลังๆ ตามบันทึกของท่านพระครูวิริยานุรักษ์ วัดตานีสโมสร ปัตตานี ซึ่งเขียนจากคำบอกเล่าของพระอุปัชฌาย์ดำ ดิษโร วัดศิลาลอย อำเภอสทิ้งพระ จังหวัดสงขลาว่า ก่อนที่สมเด็จท่านพะโคะจะหายตัวไปจากวัดพะโคะได้มีสามเณรรูปหนึ่งมาหาท่าน ที่กุฏิ ไม่ทราบเรื่องอะไรแล้วก็ล่องหนหายตัวไปทั้ง2องค์ คือมีสามเณรผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยรูปหนึ่งอุทิศถวายชีวิตตนใว้ในพระ พุทธศาสนาได้อธิฐานจิตว่าก่อนจากโลกนี้ไปขอได้เฝ้าเบื้องพระพักตร์ของพระศรี อาริย์โพธิสัตว์ ด้วยกุศลที่สะสมมาแต่ชาติปางก่อนและด้วยกุศลจิตอันแรงกล้า
กล่าวคือในคืนวัน หนึ่งได้มีชายนุ่งขาวหม่ขาวมาหาพร้อมทั้งประเคนดอกไม้ดอกหนึ่ง แล้วบอกว่านี่ คือดอกไม้ทิพย์จากสรวงสวรรค์ไม่รู้จักร่วงโรย พระโพธิสัตว์ได้มาจุติชั่วคราวบนโลกมนุษย์นี้แล้ว สามเณรจงถือดอกไม้นี้ออกตามหาเอาเองเถิด ถ้าพระภิกษุรูปใดรู้จักดอกไม้ทิพย์ พระภิกษุรูปนั้นแหละคือพระโพธิสัตว์ซึ่งจะเป็นผู้โปรดเวไนยสัตว์ในโลกหน้า เมื่อชายแก่ให้ดอกไม้ทิพย์แก่สามเณรแล้วก็จากไป สามเณรได้ออกตามหามุ่งหน้าสู่วัดต่างๆ แต่ไม่มีพระภิกษุสงฆ์รูปใดสนใจไต่ถามเลย ด้วยความศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นก็ตระเวนหาไปเรื่อย

      วันหนึ่งสามเณรได้เดินทางมาถึงวัดพะโคะ สามเณรได้พบท่านสมเด็จพะโคะที่กุฏิของท่าน เมื่อท่านหลวงพ่อทวดได้เหลือบไปเห็นดอกไม้ทิพย์ในมือสามเณร จึงถามว่า “นั่นดอกมณฑาทิพย์บนสรวงสวรรค์ ผู้ใดให้เจ้ามา !!”
สามเณรขนลุกซู่ไปทั้งตัวแน่ใจแล้วว่าตนได้พบ พระโพธิสัตว์แล้วสามเณรจึงนำดอกไม้ไปประเคนแก่ท่าน เมื่อสมเด็จพะโคะรับดอกไม้ทิพย์แล้ว ท่านนั่งคิดอยู่ครู่หนึ่ง จึงกวักมือเรียกสามเณรเข้าไปในกุฏิชั้นใน ปิดประตูหน้าต่างลงกลอน และปาฏิหาริย์เมื่อหายตัวไปทั้ง สามเณรและสมเด็จเจ้าพะโคะตั้งแต่เพลานั้น โดยไม่เหลือร่องรอยไว้ให้เห็นอีกเลย...

    ประวัติหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ คนทางใต้เชื่อว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวด เป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งลงมาโปรดบนโลกมนุษย์ชั่วคราวแล้วท่านก็นำดอกไม้ทิพย์พร้อมสามเณรขึ้นสวรรค์ไปพร้อมกัน
     สมเด็จท่านพะโคะก่อนที่ท่านจะจากวัดพะโคะไปโดยไม่มีร่องรอย ท่านได้ทิ้งสิ่งสำคัญไว้ที่วัดพะโคะ 2 อย่างคือ
- ลูกแก้ววิเศษ ที่พญางูใหญ่ได้คายใว้ให้ท่านตอนท่านเป็นทารก
- อีกสิ่งหนึ่งที่ท่านทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดพะโคะคือ รอยเท้าของท่าน ที่ท่านเหยียบประทับใว้บนแท่นหินบนหน้าผา ที่วัดพะโคะนั่นเอง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีผู้คนกราบไหว้เป็นประจำตราบเท่าทุกวัน
ประวัติหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ แขวนหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ เช่าบูชาพระหลวงพ่อทวด หลวงปู่ทวด  ประวัติ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน