ประวัติหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน
หลวงพ่อเงินชื่อเดิมของท่านชื่อ“เงิน”ในสมัยนั้นยังไม่มีนามสกุลท่านเกิดเมื่อวันที่๑๖กันยายนพ.ศ. ๒๓๕๓ตรงกับวันศุกร์เดือน๑๐ปีฉลูบิดาของหลวงพ่อเงินชื่อ“อู๋”ซึ่งเป็นชาวบ้านบางคลานมารดาชื่อ“ฟัก”เป็นชาวบ้านแสนตออำเภอแสนตอ(ปัจจุบันเป็นอำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี) จังหวัดกำแพงเพชร
หลวงพ่อเงินชื่อเดิมของท่านชื่อ “เงิน”ในสมัยนั้นยังไม่มีนามสกุล ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๓ตรงกับวันศุกร์ เดือน ๑๐ ปีฉลู บิดาของหลวงพ่อเงินชื่อ “อู๋”ซึ่งเป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาชื่อ “ฟัก”เป็นชาวบ้านแสนตอ อำเภอแสนตอ(ปัจจุบันเป็นอำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี) จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่อเงิน มีพี่น้องร่วมสาย
โลหิตทั้งหมด ๖ คน ดังนี้
คนที่ ๑ ชื่อ พรม(ชาย)
คนที่ ๒ ชื่อ ทับ(หญิง)
คนที่ ๓ ชื่อ ทอง(ขุนภุมรา) (ชาย)
คนที่ ๔ ชื่อ เงิน(หลวงพ่อเงิน)
คนที่ ๕ ชื่อ หลํ่า(ชาย)
คนที่ ๖ ชื่อ รอด(หญิง)
ในปี พ.ศ. ๒๓๕๖ ขณะนั้นหลวงพ่อเงินอายุได้ ๓ ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นลุงของท่านได้พาหลวงพ่อเงิน ไปอยู่กรุงเทพฯด้วยนายช่วงได้อุปการะเลี้ยงดูหลวงพ่อเงินจนกระทั่งเติบโตมี อายุจะเข้าศึกษาเล่าเรียนได้จึงได้นำหลวงพ่อไปฝากไว้ที่วัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) จังหวัดพระนคร หลังจากนั้นท่านก็ได้เรียนหนังสือที่วัดชนะสงคราม ตลอดมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๔๖๕ ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรขณะนั้นอายุได้ ๑๒ ปี หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ได้ศึกษาธรรมวินัยและเวทมนต์คาถาอาคมต่าง ๆ จนถึงขั้นแตกฉาน พออายุใกล้จะอุปสมบทได้ท่านก็สึกจากสามเณรเป็นฆราวาส
เนื่อง จากวัดนี้ มีหลวงพ่ออุปัชฌาย์โห้เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นพระที่เรืองวิชาเหมือนกันชอบเล่นแร่แปรธาตุ นอกจากนี้หลวงพ่ออุปัชฌาย์ท่านยังชอบเทศน์ชาดก(แหล่เป็นทำนอง) การซ้อมแหล่ของหลวงพ่ออุปัชฌาย์โห้เสียงดัง หลวงพ่อเงินคงจะไม่พอใจ เพราะท่านเป็นพระที่เคร่งทางธรรมวินัย และวิปัสสนา ชอบแต่ความสงบเพื่อผลทางวิปัสสนากรรมฐาน ท่านจึงได้ย้ายวัดจากวัดคงคารามไปอยู่ที่หมู่บ้าน วังตะโก ลึกเข้าไปทางลำนํ้าน่านเก่าห่างจากวัดคงคารามคนละฝั่งแม่นํ้ายม
วัดวังตะโกเมื่อออกจากวัดคงคารามแล้ว หลวงพ่อก็มาปลูกกุฏิด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงแฝก อยู่ที่หมู่บ้าน วังตะโก หลวงพ่อเคยพูดว่า “ชาติเสือไม่ต้องขอเนื้อใครกิน”ก่อน ที่หลวงพ่อจะออกจากวัดคงคารามได้นำกิ่งโพธิ์จากวัดมาด้วย๑ กิ่ง มาปักไว้ที่หน้าตลิ่ง(ตรงกับที่หน้าพระอุโบสถ) พร้อมกันนั้นหลวงพ่อได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าจะเจริญรุ่งเรืองขอให้ต้นโพธิ์นี้เจริญงอกงามแผ่กิ่งก้านสาขากว้างใหญ่ กาลต่อมาปรากฏว่าต้นโพธิ์ของท่านได้เจริญงอกงาม สมดังคำอธิษฐานนับตั้งแต่นั้นตลอดมาวัดวังตะโกหรือวัดหิรัญญารามก็เจริญ รุ่งเรืองตามลำดับ มีการสร้างกุฏิด้วยไม้สักหลังคามุงด้วยกระเบื้อง หลายหลัง มีศาลาวิหารและพระอุโบสถชื่อเสียงของหลวงพ่อได้ขจรไปทั่วทุกทิศานุทิศ มีประชาชนเคารพนับถือท่านมาก มีคนมาหาท่านมิได้ขาดเพื่อถวายตัวเป็นลูกศิษย์ เพื่อขอเครื่องรางของขลัง เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เพื่ออาบนํ้ามนต์ มีเรื่องเล่าว่านํ้ามนต์ของท่านที่ประชาชนอาบไหลลงสู่แม่นํ้าไม่ขาดสายต่อมา หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับสมณศักดิ์ให้เป็นท่านเจ้าคุณฝ่ายวิปัสสนาจารย์
ลักษณะเด่นประจำตัวของหลวงพ่อตามปกติหลวงพ่อจะออกมานั่ง รับแขกที่หน้ากุฏิมิได้เบื่อหน่าย การนั่งที่ท่านชอบมากที่สุดคือ นั่งขัดสมาธิ เข่าด้านซ้ายจะยกขึ้นนิดหน่อย ในขณะที่หลวงพ่อนั่งคุยกับแขกมักจะถือบุหรี่ตลอดเวลา แต่ถ้านั่งทำนํ้ามนต์ หลวงพ่อจะเอาบุหรี่คีบไว้ที่ง่ามเท้าขวาตลอดเวลา ถ้าบุหรี่ดับก็หยิบขึ้นมาจุดสูบใหม่ นี่คือลักษณะพิเศษของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
งานประจำปีวัดบางคลานงาน ประจำปีปิดทองไหว้พระในเดือนสิบเอ็ดของทุก ๆ ปี ในสมัยนั้นเห็นจะไม่มีวัดใดจัดงานได้สนุกสนานและมีประชาชนหลั่งไหลมาเที่ยว อย่างมากมายเหมือนวัดหลวงพ่อเงิน สิ่งที่ดึงดูดความสนใจของประชาชน ให้มาเที่ยวงานคือ เรือเพลง และการแข่งขันเรือยาว ซึ่งนิยมกันมากในสมัยนั้น เรือยาวที่มีชื่อเสียงโด่งดังได้แก่ เรือประดู่หนองดง เรือสาวน้อย เรือดาวเรือง เรือสวรรค์ลอยล่อง เรือพวงมาลัย เรือจระเข้ นอกจากเรือดังกล่าวแล้วยังมีเรืออีกหลายลำ ที่จำชื่อไม่ได้(ที่สามารถระบุชื่อได้ก็เพราะสอบความจากบุคคลที่ยังมีชีวิต อยู่ในปัจจุบัน)สำหรับเรือที่ชนะเลิศในสมัยนั้น ได้แก่ เรือจระเข้เป็นเรือของวัดบ้านน้อยซึ่งขุดด้วยต้นตะเคียนทั้งต้น มีเรื่องเล่ากันว่าก่อนที่จะนำลงแข่งทุกครั้งจะต้องมีการแต่งตัวและเซ่นแม่ ย่านาง พอคนทรงทำพิธีเท่านั้น เรือจระเข้จะแล่นลงนํ้าเอง และเมื่อเวลาแข่งแทบจะไม่ต้องพายเท่าไรเลย เพราะแรงแม่ย่านางหลวงพ่อเป็นผู้มีนโยบายอย่างยอดเยี่ยมในการเรียกคนเข้ามา เที่ยวงานประจำปีในวัดของท่าน คือท่านจะนำผ้าป่า กฐินไปทอดตามวัดต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงแล้วก็นำเรือยาวที่ประชาชนขุดมาถวายไปมอบไว้ตามวัด ต่างๆ เหล่านั้นด้วย พอถึงฤดูเทศกาลปิดทองพระในเดือนสิบเอ็ดก็ให้วัดต่าง ๆ เหล่านั้นนำเรือยาวไป แข่งด้วย การคมนาคมในสมัยนั้นต้องเดินด้วยเท้า แต่ถ้าไม่เดินด้วยเท้าก็ต้องใช้เรือพายทางนํ้าประชาชนที่หลั่งไหลมาเที่ยว งานจากท้องถิ่นต่าง ๆ ก็จะนำเรือมาจอดที่หน้าวัดบางคลานแทบจะหาที่จอดไม่ได้ ต้องผูกเรือต่อ ๆ กัน จนเต็มแม่นํ้าไปหมดนับว่าเป็นงานที่มีคนมาเที่ยวมากที่สุดในสมัยนั้น
หลวงพ่อเงินรักษาโรคหลวง พ่อเงินนอกจากท่านจะเป็นพระที่เรืองวิชาแล้ว ท่านยังมีสติปัญญาที่จัดอยู่ในขั้นอัจฉริยะ อีกด้วย เพราะท่านเป็นหมอโบราณที่เก่งกาจ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ประชาชนที่มารับการรักษา วิธีการรักษา ของท่านก็ใช้นํ้ามนต์ และบางทีก็ใช้สมุนไพร สำหรับสมุนไพรนั้นท่านจะจัดให้ไปต้มกิน ในไม่ช้าโรคที่เป็นก็จะหายป่วย ขณะนี้ตำรายาของหลวงพ่อเงินยังอยู่ที่วัดบางคลานเป็นสมุดข่อย ซึ่งทางวัดเก็บรักษาไว้อย่างดี ท่านผู้สนใจไปขอดูได้จากเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
หลวงพ่อเงินกับเจ้านายทางกรุงเทพฯด้วยความเชื่อถือของ
ประชาชนโดยทั่วไปนี้เอง ทำให้ชื่อเสียงของท่านลือกระฉ่อนไปทั่วทุกสารทิศได้มีเจ้านายทางกรุงเทพฯ ขึ้นมาหาท่านและขอเล่าเรียนวิชาจากท่านในสมัยนั้นมีหลายองค์ที่จำได้ก็มี สมเด็จมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จมาอยู่ที่วัดบางคลานหลายวัน เข้าใจว่าจะมาเรียนวิปัสสนากรรมฐานนอกจากนี้ยังมีผู้เล่าว่ากรมหลวงชุมพรเขต รอุดมศักดิ์ในสมัยนั้นยังทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นอยู่ได้เสด็จมาที่วัดบาง คลานเพื่อเล่าเรียนวิชาจากหลวงพ่อด้วย รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ มีดังนี้
กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ท่านกำลังแสวงหาความรู้เกี่ยวกับทางด้านไสยศาสตร์ ขณะนั้น เป็นศิษย์
กาลอวสานแห่งชีวิตโรค ประจำตัวของหลวงพ่อเงินคือ โรคริดสีดวงทวาร ท่านรักษาตัวของท่านเองบางทีก็หายไปนานแล้ว กลับมาเป็นอีกหลวงพ่อเคยบ่นว่า“คนอื่นร้อยคนพันคนรักษาให้หายได้ แต่พอผงเข้าตาตนเองกับรักษาไม่ได้” ต่อจากนั้นไม่นานโรคเก่าของท่านก็กำเริบเป็นพิษมากขึ้นและแล้วกาลอวสานของ หลวงพ่อก็มาถึง เมื่อวันศุกร์ แรม ๑๑ คํ่า เดือน ๑๐ ปีมะแม ตรงกับ พ.ศ.๒๔๖๒ (ข้อสังเกตวันเกิดและวันมรณภาพของ ท่านเป็นวันเดียวกัน คือวันศุกร์) รวมอายุของท่านได้ ๑๐๙ ปีการมรณภาพของหลวงพ่อทำความเศร้าโศกเสียใจให้แก่บรรดาศิษย์ และผู้ที่เคารพนับถือ อย่างมากบรรยากาศในวัดวังตะโกเงียบเหงา ซึมเศร้า ชาวพิจิตรได้สูญเสียเพชรเม็ดเอกไปเสียแล้ว การอาบนํ้าศพในวันนั้น มีประชาชนหลั่งไหลไปเป็นจำนวนมากเพื่ออาบนํ้าศพของหลวงพ่อ เหตุการณ์ในวันอาบนํ้าศพนั้นจะมีประชาชนเอาขันนํ้า ขวดนํ้า ถังนํ้าไปรองรับนํ้าที่อาบศพอยู่ใต้ถุนศาลา เพื่อนำไปบูชาเพราะถือว่าเป็นของ ศักดิ์สิทธิ์ นอกจากจะแย่งนํ้าอาบศพแล้ว ประชาชนต่างก็แย่งจีวรของหลวงพ่อออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพื่อนำไปเป็นของคงกระพันชาตรี(สมัยนั้นหลวงพ่อเงินใช้จีวรแพรบาง ๆ) เดี๋ยวนี้ผู้ที่มีจีวรของหลวงพ่ออยู่จะหวงแหนมากเพราะถือว่าเป็นของดีที่หา ได้ยากมากอย่างหนึ่ง
การฌาปนกิจศพหลวงพ่อเงินคณะ ศิษยานุศิษย์และบรรดาญาติโยมทั้งหลายได้ทำการฌาปนกิจศพ หลวงพ่อเงินเมื่อเดือน ๔ ปีวอก พ.ศ.๒๔๖๓ ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจศพนั้นได้มีการขุดศพของหลวงพ่อเงินขึ้นมาเพื่อชำระ ล้างกระดูก ในการขุดครั้งนั้น(กำนันขจร สอนขำ กำนันตำบลบางคลานเป็นผู้เล่าให้ผู้เขียนฟัง)
นายปลิ้ว ทองเผือก เป็นผู้ชำระล้างทำความสะอาดซากศพของหลวงพ่อ นายปลิ้ว ทองเผือก จึงได้เก็บกระดูกหัวเข่า(ลูกสะบ้า) ของหลวงพ่อ เข้าไว้เพราะถือว่า อาจารย์ดีนั้นจะต้องดีทั้งตัวฉะนั้นกระดูกหลวงพ่อชิ้นนี้จึงไม่ได้เผา ตกทอดเป็นสมบัติของ นายปลิ้ว ต่อมานายปลิ้ว มีญาติชื่อ นายหมอ ทองเผือก จึงได้แบ่งกระดูกไปให้ส่วนหนึ่ง และเมื่อนายหมอมีบุตร ก็ได้แบ่งให้บุตรอีก บุตรของนายหมอ ทองเผือก เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖ ตำบลบางคลาน ชื่อนายสนิท ทองเผือก ปัจจุบันกระดูกของหลวงพ่อส่วนนี้ได้ถูกตัดแบ่งออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยใน ตระกูล“ทองเผือก”สำหรับ กระดูกของหลวงพ่อที่เผาแล้วมีอยู่ที่กำนันตำบลบางคลาน คือ กำนันขจร สอนขำท่านกำนันบอกว่า เป็นมรดกตกทอดมาจากย่าทวด ซึ่งย่าทวดของกำนันได้เอากระดูกมาทำหัวแหวนแทนพลอยสีของกระดูกขาวนวล เมื่อส่องดูด้วยกล้องจะเห็นเป็นขุยเด่นชัด ท่านกำนันเล่าว่าเมื่อได้มาใหม่ ๆ ดมดูกลิ่นหอม เหมือนกระแจะจันทน์ ขณะนี้ดมดูก็ยังหอมอยู่ ความหอมของกระดูกนี้พอจะสันนิษฐานได้ว่า หลังจากฌาปนกิจศพตอนเก็บกระดูก อาจจะถูกพรมด้วยนํ้าหอมก็ได้จึงมีกลิ่นหอมติดอยู่ปัจจุบันกระดูกชิ้นนี้สึก กร่อนไปบ้างทั้งนี้เนื่องจากมีผู้มาขอดูและขออนุญาตเอาขี้ผึ้งมาแตะที่ กระดูกเมื่อแตะแล้วก็ถือว่าขึ้ผึ้งก้อนนี้เป็นของขลังบางคนก็มาขอเอามีดแกะ ไป ต่อมาภายหลังกำนันไม่ยอมให้ใครดู เก็บรักษาไว้อย่างดีในวันฌาปนกิจศพมีประชาชนไปร่วมงานเป็นจำนวนมากเพราะถือ ว่าหลวงพ่อเงินเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง และเป็นมิ่งขวัญของขาวพิจิตรทุกคน
หลวงพ่อได้บอกกับนายเป๋ว่า จงเก็บรักษาไว้ให้ดี ของนี้เมื่อถึงคราวจนก็ไม่จนเมื่อถึงคราวยาก ก็ไม่ยาก นายเป๋ก็เก็บรักษาไว้อย่างดีตามคำของหลวงพ่อ ต่อมานายเป๋ตาย ลูกประคำนี้จึงได้ตกมาอยู่กับ__นายแชวง อ่อนละมัย ผู้เป็นบุตรตามคำบอกเล่าของนายแชวง อ่อนละมัย เล่าว่า วันหนึ่งในฤดูนํ้าท่วม มีแขกมาเยี่ยมบ้านและขอชมลูกประคำ ขณะที่ยกออกมานั้นลูกประคำตกจากพาน เชือกขาดลูกประคำหลุดกระเด็นตกใต้ถุนบ้านซึ่ง นํ้าท่วม หายไปบางส่วน หลังจากนั้นนายแชวงได้จุดธูปเทียนขอขมาลาโทษ เมื่อนํ้าลดแล้วปรากฏว่าเม็ดลูกประคำไปกองอยู่รวมกันที่กอมะลิ ซึ่งอยู่ข้างล่างทางขึ้นบ้าน เมื่อเก็บมาได้แล้วก็นำมาร้อยเข้าพวงอย่างเดิมครบ ๑๐๘ เม็ด ลูกประคำนี้ถือว่าเป็นยอดแห่งวัตถุมงคลชิ้นหนึ่งของหลวงพ่อเงิน ปัจจุบันลูกประคำยังคงอยู่ในสภาพเดิม เจ้าของรักและหวงแหนอย่างมาก
อภินิหารลูกประคำวันหนึ่ง มีผู้ร้ายจะเข้ามาปล้นบ้านตาเป๋ แต่เข้ามาปล้นไม่ได้เพราะเกิดอัศจรรย์อากาศหนาวเย็นจัด พวกผู้ร้ายเห็นผิดปกติ จึงไม่กล้าเข้าไปปล้น คิดว่าบ้านนี้คงจะมีอะไรดีแน่ๆ เหตุที่ตาเป๋รอดพ้นจากการถูกปล้นเพราะอภินิหารของลูกประคำของหลวงพ่อเงินโดย แท้
ชานหมากหลวงพ่อเงินจากการ เปิดกรุวิหาร วัดบางคลาน โดยมีนายชุมพล โภคะกุล อดีตนายอำเภอโพทะเล เป็นประธาน นอกจากจะพบพระพิมพ์ต่าง ๆ ของหลวงพ่อเงินแล้ว ยังพบชานหมากของหลวงพ่อเงิน ๔ เม็ด ลักษณะของชานหมากเป็นรูปหัวใจ ปัจจุบันนี้ชานหมากเหล่านี้ได้ตกเป็นสมบัติของบุคคลดังนี้ คือ
๑. คุณวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ ๑ เม็ด
๒. จ่าตำรวจคนหนึ่งที่อำเภอโพทะเล ๑ เม็ด
๓. นายอำเภอชุมพล โภคะกุล (ภายหลังมอบให้ทหาร) ๑ เม็ด
๔. อีกเม็ดหนึ่งหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
อภินิหารชานหมากหลังจากนายอำเภอชุมพล โภคะกุล ได้มอบชานหมากให้แก่ทหารคนหนึ่งไปแล้วทหารคนนี้ก็สมัครไปรบสงครามเกาหลี ปรากฏว่าเกิดการยิงต่อสู่กับฝ่ายตรงข้าม ทหารผู้นี้ถูกยิงปรากฎว่ากระสุนปืนไม่เข้าจึงได้จดหมายมาเล่าให้นายอำเภอฟัง ถึงอภินิหารชานหมาก
ตะกรุดของหลวงพ่อเงินในสมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ทำตะกรุดอีกด้วย เท่าที่เห็นมีหลักฐาน
แน่นอนได้แก่ตะกรุดสามกษัตริย์ ทอง-นาก-เงิน จากคำยืนยันของนางกิมลุ้ย ตลาดอำเภอบางมูลนากว่า แต่เดิมนั้นนางกิมลุ้ยกับพี่ชายเดิมเป็นคนโพทะเล มักจะนำข้าวต้มหมูไปถวายหลวงพ่อเงินเป็นประจำ เพราะข้าวต้มหมูเป็นของโปรดของ หลวงพ่อเงิน การเดินทางไปมาบ่อย ๆ นี้ ทำให้หลวงพ่อเป็นห่วงจึงได้มอบตะกรุดสามกษัตริย์ให้แก่พี่ชายไว้ป้องกันคุ้ม ครองภัย หลังจากพี่ชายของนางกิมลุ้ยตาย ตะกรุดสามกษัตริย์จึงตกเป็นของนางกิมลุ้ยน้องสาวปัจจุบันตะกรุดสามกษัตริย์ ได้ตกมาเป็นสมบัติของคุณวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ อดีตกำนันตำบล หัวดงท่านผู้สนใจจะมาขอชมได้ทุกโอกาส
พ่อเงินเป็นหลวงพ่อที่มีอภินิหารศักดิ์สิทธิ์และพิสดารมากในระหว่างที่ ท่านยังมีชีวิตอยู่หลายประการ แม้ท่านได้จากเราไปเป็นเวลานานแล้วความศักดิ์สิทธิ์ของท่านก็ยังมิได้สูญหาย จากเราไป จะขอเล่าให้ฟังตามที่ได้สดับตรับฟังมาจากท่านผู้ใหญ่ที่อายุมาก ๆ เพียงย่อ ๆ กล่าวคือ
๑. ถ่ายรูปหลวงพ่อเงินไม่ติด
ในระหว่างที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ผู้คนบ้านใกล้เมืองไกลไปมาหาสู่ท่านไม่ขาดระยะ คราวหนึ่งมีคนต่างชาติคือ “คนแขก”มา ขอถ่ายรูปของท่านกระจกหน้ากล้องแตก ครั้งที่สองถ่ายอีกคือถ่ายตรง ๆ หน้าพอเอาไปล้างรูปดูแล้ว ปรากฏว่าไม่ติดหมดทั้งหน้า ติดหน้าเพียงแถบเดียว นี่คืออภินิหาร ของหลวงพ่อเงิน
๒. การหล่อรูปจำลองของหลวงพ่อเงินเมื่อ หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ประชาชนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อได้ตกลงกัน จัดการหล่อรูปจำลองของท่านไว้ ในการเททองหล่อรูปเททองไม่ติด ทำอย่างไรก็ไม่ติด จึงนิมนต์ท่านมาทำพิธีเททองนั้น ขอร้องให้เทให้ติด หลวงพ่อบอกว่า “เอาแต่พอแม้นๆอย่าให้เหมือนเลย”แล้วช่างก็ทำการหล่อใหม่สำเร็จ ดังที่ปรากฏอยู่ที่วัดหิรัญญารามปัจจุบันนี้
๓. การทำปลอกช้างเมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่หลวงพ่อมีช้างหลายเชือก เพื่อสะดวกแก่ผู้เลี้ยงช้างจึงได้จัดการทำ “ปลอก”ช้าง ขึ้นใช้ ในระหว่างที่กำลังสูบเตาสูบเพื่อหลอมเหล็กนั้น เหล็กที่หลอมไม่ละลายเพราะหลวงพ่อนั่งดูอยู่ และแกล้งพูดว่าสูบไม่ดีเหล็กจึงไม่ละลายจนกระทั่งลูกศิษย์ของท่าน ต้องการจะให้หลวงพ่อขึ้นไปฉันอาหารบนกุฏิเสียจะได้ทำให้สำเร็จ และเมื่อหลวงพ่อจะลุกขึ้นไปฉันอาหารบนกุฏิท่านแกล้งเอาจีวรทิ้งใส่ลงไปในเตา สูบนั้น พวกลูกศิษย์ตะลึงและแกล้งสูบใหญ่เพื่อให้ไหม้ไฟ สูบอยู่นานจนควันเขียวแล้วก็แดง ครั้นเอาคีมคีบขึ้นมาจับดูปรากฏว่าจีวรไม่ไหม้ไฟแต่อย่างใด พวกลูกศิษย์ที่ช่วยกันทำปลอกช้างนั้น จึงแย่งฉีกชายจีวรนั้นมาผูกคอคนละชิ้นสองชิ้น เมื่อท่านฉันอาหารเสร็จแล้วจึงลงมาดูที่ที่ทำปลอกช้างนั้น แล้วพูดว่าใครเอาจีวรกูไปไหน พวกลูกศิษย์จึงชี้ไปที่คอซึ่งจีวรหลวงพ่อถูกฉีกเอาไปทำเครื่องรางของขลัง เสียแล้ว ท่านก็ไม่ว่ากระไร นี่คืออภินิหารของหลวงพ่อเงิน ซึ่งศักดิ์สิทธิ์เหลือเกิน จีวรเผาไฟไม่ไหม้
๔. เชื้อพระวงศ์มาเยี่ยมวัดหลวงพ่อเมื่อ หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ก็ได้มาขออาบนํ้ามนต์กับหลวงพ่อ สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช มาขอเรียนศิลปศาสตร์กับหลวงพ่อด้วย
๕. สิ่งที่ประทับใจที่ลูกหลานไม่รู้ลืมคือ เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างโรงเรียนประชาบาล ตำบลบางคลาน(เงินอนุสรณ์)ซึ่งปัจจุบันนี้ลูกหลานยังได้ศึกษาเล่าเรียนตราบ เท่าทุกวันนี้ข่าวเล่าลือว่าหลวงพ่อบอกหวยแม่น ก็มีประชาชนไปขอกันมากมาย ภายหลังต่อมาหลวงพ่อเห็นว่าการบอกใบ้หวยเป็นการพนันหลวงพ่อจึงไม่ยอมบอกใคร อีก
หลังจากหลวงพ่อเงินมรณภาพแล้ว ได้มีเจ้าอาวาสวัดหิรัญญารามเรียงตามลำดับดังนี้
๑. อาจารย์แจ๊ะ
๒. อาจารย์ขาว
๓. อาจารย์ยา
๔. อาจารย์ผิน
๕. อาจารย์โชติ
๖. อาจารย์บุญธรรม
๗. อาจารย์เปรื่อง (พระครูพิบูลธรรมเวท)
สำหรับเจ้าอาวาสดังที่กล่าวข้างต้นนี้ อาศัยหลักฐานจากการสอบถามพระครูพิบูลธรรมเวทเจ้าอาวาสวัด
บางคลานในขณะนั้นและนายสนิท จุลพันธ์ เคยบวชอยู่วัดบางคลาน สึกออกมาเป็นมรรคนายก วัดบางคลาน บ้านเกิดอยู่บางคลาน เป็นผู้บอกเล่านามสกุลของเจ้าอาวาสแต่ละองค์ไม่สามารถจำได้เมื่อค้นหา หลักฐานจากทางวัดแล้วไม่มีการจดบันทึกไว้เลย ถึงอย่างไรก็ตามเพียงแต่เราได้หลักฐานเท่านี้ ก็นับว่าพอเพียงแล้ว ซึ่งก็เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจโดยทั่วกัน
อภินิหารน่าอัศจรรย์หลังจากหลวงพ่อเงินได้มรณภาพไปแล้ว
๑. วันทำศพหลวงพ่อเงินคือ เมื่อถึงวันจัดการเผาศพมีประชาชนมากมายเหลือที่จะคณานับ ยื้อแย่งกระดูก จีวร จากตัวท่านเอาไปทำเครื่องรางของขลัง และเอาไปสักการบูชาเพื่อป้องกันภัยต่าง ๆ นับว่าหลวงพ่อเงินมีประชาชนเคารพนับถือและเลื่อมใสในตัวท่านมาก
๒. วาจาสิทธิ์ของหลวงพ่อเงินหลวง พ่อเงินมีวาจาสิทธิ์มากคนเกรงกลัวกันนักหนา คือ ท่านห้ามมิให้มีเรื่องราวเกิดขึ้นในวัดของท่าน เช่นตีกัน ยิงกัน หรือฉกชิงวิ่งราวไม่ได้เป็นเด็ดขาดถ้าใครขืนทำสืบดูรู้ตัวต้องมีอัน__เป็นไป ต่าง ๆ คือไฟไหม้บ้านบ้าง ตายโหงบ้าง เช่นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ทางวัดมีงานประจำปี มีคนมามากมายเกิดลักทรัพย์ขึ้นในวัด ในที่สุดจับผู้ร้ายได้และถูกฟ้องศาลติดตะราง ส่วนภรรยาของผู้ร้ายได้สาบาน ต่อหน้ารูปจำลองหลวงพ่อเงินว่าสามีของตนไม่ได้เป็นคนลักทรัพย์ ในที่สุดหลังจากเสร็จจากงานปิดทองไหว้พระแล้ว ภรรยาของคนร้ายก็ได้อาเจียนออกมาเป็นโลหิต จนถึงแก่ความตาย อภินิหารของหลวงพ่อเงิน ถ้าใครทำขึ้นในวัดย่อมมีอันเป็นไปให้เห็นดังนี้เสมอจึงมีผู้เกรงกลัวมาก
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดหลวงพ่อเงิน
๑. ไม้ละมุดหลวงพ่อเงินละมุด ต้นนี้เมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ขึ้นอยู่หน้ากุฏิของท่านเป็นที่สำหรับอาบ นํ้ามนต์ไม่กี่ปีมานี้ละมุดต้นนี้ตายและตายอยู่ ๓ เดือน ใบยังไม่ร่วง ครั้นต่อมามีคนต่างจังหวัดมาขอเอาไป ทางวัดก็ให้ไปบ้างและเก็บไว้บ้าง เล่ากันว่าที่คนเอาไปๆ ผูกคอโดยทำเป็นพระเครื่องบ้างเลี่ยมทองบ้าง เป็นเครื่องรางของขลังบ้าง เขาว่ายิงไม่เข้าบ้าง ไม่ดังบ้าง ยิงไม่ถูกบ้าง จนกระทั่งเลื่องลือกันไปทุก ๆ แห่งเดี๋ยวนี้ แม้แต่รากละมุดอยู่ในดินก็ขุดคุ้ยเอาไปทำเครื่องรางของขลังกันหมดแล้ว
๒. กล้วยร้อยหวีแม้ แต่กล้วยซึ่งปลูกไว้ข้างศาลาการเปรียญของหลวงพ่อเงินก็แจกจ่ายกันคนละผลสอง ผลในที่สุด แม้แต่ต้น ใบ ราก ก็เอาไปทำเครื่องรางของขลังกันหมดเหมือนกับต้นละมุดนั่นแหละ
๓. สัปคับช้าง(อาน ช้าง) หลวงพ่อเงิน หลังจากหลวงพ่อเงินมรณภาพไปแล้วแม้แต่สัปคับช้าง ซึ่งหลวงพ่อเงินเคยขี่ช้างและนั่งสัปคับช้างนั้น ได้เก็บและทิ้งไว้หลังพระอุโบสถหลังเก่าก็มีผู้เอาไปเลี่ยมทองบ้าง เลี่ยมเงินบ้างเอาไปทำเครื่องรางของขลังบ้าง จนกระทั่งหมดไป
๔. ต้นโพธิ์หลวงพ่อเงินจากคำบอกเล่าของ “พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูพิบูลธรรมเวท”เจ้า อาวาสองค์ปัจจุบัน ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเงินที่ปรากฏแก่หลวงพ่อพระครูพิบูลธรรมเวทคือต้น โพธิ์หลวงพ่อเงินปลูกอยู่หน้าพระอุโบสถของท่าน ต้นโพธิ์ต้นนี้มีผู้สูงอายุที่เคยเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงินมาก่อนเล่าให้ ฟังว่าเป็นต้นโพธิ์อธิษฐานเมื่อก่อนที่หลวงพ่อจะย้ายจากวัดคงคาราม(วัดบาง คลานใต้) มาสร้างวัดขึ้นใหม่คือ วัดวังตะโก (วัดหิรัญญาราม ตำบลบางคลานปัจจุบันนี้) ท่านก็ได้นำกิ่งโพธิ์มาหนึ่งกิ่ง แล้วท่านก็มาอธิฐานว่าถ้าจะสร้างวัดตรงนี้แล้วจะเจริญรุ่งเรืองต่อไปในภาย ภาคหน้าก็ขอให้ต้นโพธิ์เจริญงอกงาม
ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล
ดีครับเป็นแนวทางการศึกษา
ตอบลบ