วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

สิบเก้า-เก้า-สาม จุดเอก (ตำหนิ) หลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม

 ชี้ (19- 9 -3 ) จุดเอกด้านหน้า หลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม














การดูจุดตำหนิด้านหน้าหลวงพ่อเงินสิบเก้าจุดที่ต้องมี(พิมพ์นิยม)

1.หน้าผากโหนกนูนเหมือนซาลาเปา  ศีรษะบนบางองค์กลม(เศียรกลม) บางองค์ด้านบนแบน (เศียรบาตร)

      2.ตำแหน่งตาช้ายสูงกว่าตาขวา และตาช้ายไม่ได้วางอยู่    ในระนาบเดียวกัน ให้สังเกตตาขวาจะสูงกว่าตาช้าย

        3.ปลายจมูกใหญ่ ปลายจมูกข้างขวาองค์พระจะใหญ่ขึ้น
 และปิดมาทางขวา
       
        4.ใบหูใหญ่ ในบางองค์ใบหูที่ติดชัดเจน ใบหูจะใหญ่เป็นวง
และจะโค้งออกจากองค์พระ

       5.ปากอ้ายิ้ม บางองค์ที่ติดชัดเจนจะเห็นเสี้ยนขนหนู คล้ายๆฟันปรากฎขึ้น
     
       6.เส้นสังฆาฎิมีรอยเว้าเล็กน้อย ขอบสังฆาฎิช่วงกลางมีรอย
เว้าเล็กน้อย ถือเป็นจุดสำคัญอีกจุดหนึ่งของพิมพ์นิยม

        7.เนื้อหน้าอกด้านขวามีกล้ามเนื้อนูนแต่ง (ไม่แบนราบ) เนื้อ
หน้าอกด้านขวาด้านบน มีเนื้อนูนขึ้นมา ไม่แบนราบ พระปลอมส่วนใหญ่จะแบนราบ

        8.เส้นร่องจีวรด้านขวามือส่วนมาก จะติดชัดเจนสามเส้นและในเส้นที่สี่ จะไม่ค่อยติดชัดเจนเท่าไหร่นัก ในองค์ที่ติดชัดเจนเส้นจีวรก็จะติดไม่ยาวนักมักจะสั้นกว่าเส้นอื่นๆ

       9.มีเนื้อนูนย้อยใต้ข้อมือขวา ใต้ข้อมือขวามีเนื้อนูนย้อยลงมาทุกองค์ ชึ้งที่จริงการออกแบบของช่างให้เป็น แนวเส้นจีวรที่พาดผ่านมือช้ายนั่นเอง

      10.จุดสังเกตใต้หัวเข่าขวาในบางองค์ ส่วนมากจะมีเนื้อนูนย้อยลงมา(มีบ้างไม่มีบ้าง)ขึ้นอยู่กับการหล่อแต่ละองค์

      11.นิ้วมือไม่เชื่อมชนกัน แต่มีรอยคอดเว้าเล็กน้อย บางองค์อาจมีเนื้อล้นออกมาทำให้ดูเหมือนนิ้วชนกัน แต่ต้องพิจารณาจุดตำหนิอื่นๆมารวมกันด้วย

      12.ฐานส่วนมากจะมีบาง หนา ไม่เท่ากันขึ้นอยูกับการหล่อพระแต่ละองค์ และ ผิวเนื้อพระอาจจะเป็นเนื้อทองเหลือง หรือ เนื้อแก่ทอง แก่เงิน แก่นาค ขึ้นอยู่กับแร่ของแต่ล่ะชนิดที่นำมาผสม ในการหล่อพระแต่ล่ะองค์

   13.พิมพ์นิยมจะแยกออกเป็นสองบล็อค คือ บล็อกที่มีมือติดชัด และ บล็อคที่มีมือติดไม่ชัด สังเกตได้ตามรูปภาพด้านบน

   14.เนื้อเกินเนื้อแตกแยกตัว เป็นหลุมเป็นบ่อ ชึ้งเป็นธรรมชาติของการหล่อพระสมัยเก่า ไม่เหมือนพระปลอมที่ทำปั้มขึ้นมามักจะไม่ปรากฎสิ่งนี้ให้เห็น

     15.เท้าช้ายเรียวอ่อนพลิ้ว เรียวบางแหลมคม เป็นธรรมชาติ

     16.ในบางออกจะมีติ่งจุด เนื้อเกินปรากฎให้เห็นชึ้งเกิดจากแม่พิมพ์ และ การหล่อพระในแต่ละองค์

    17.เท้าขวาในบางองค์ที่ติดชัดเจน จะเห็นหัวแม่เท้าปรากฎให้เห็น

   18.ปลายสังฆาฎิเว้าเข้าในเล็กน้อยทั้งสองมุม ดูคล้ายดอกจิกทำให้ปลายสังฆาฏิไม่ตัดเป็นเส้นตรง

    19.ชายจีวรขวางๆ อ่อนพริ้วเป็นธรรมชาติ องค์ที่ติดชัดเจนจะเห็นจีวรนับได้ประมาณหกเส้น

หมายเหตุ  ทั้งสิบเก้าจุดเอก เป็นเพียงหลักการพิจารณาเบื้องต้น ที่ต้องนำมาประกอบกับจุดอื่นๆอีก หลายจุดขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละท่านในการดูพระเครื่อง
  

       หลักการพิจารณาด้านหลังรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม(เก้าจุด)













หลักการพิจารณาด้านหลังรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมเก้าจุด


              1.คอตันล่ำใหญ่
           
                   2.ใบหูข้างขวาองค์พระจะยาวกว่าข้างช้าย

                   3.เส้นสังฆาฎิชัดเจน
                         
                   4.ไหล่แขนก้ามมือข้างขวาอวบหนานูน
        
                   5.จีวรเส้นที่สองและสามติดกัน

                    6.เส้นริ้วจีวรลดหลั่นเป็นธรรมชาติ

                   7.เส้นร่องสังฆาฏิชัดเจนเป็นธรรมชาติ

                   8.เนื้อเกิน รอยแต่ง เนื้อหล่อแบบเป็นธรรมชาติ
     
                   9.ลอยจุดแตกแยกเสี้ยนขนหนู ต่างๆมีธรรมชาติให้เห็น



      ฐานล่างรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม   (สามจุด)







ก้นฐานล่างรูปหล่อหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยม


1.พิมพ์นิยมทุกองค์ที่ก้นจะต้องมีรอยก้านชนวน


                2.เนื้อนูนล้นเกินเนื่องจากการเทหล่อแบบโบราน


 3.มีการแต่งด้วยตะไบลบคม บางองค์ที่ตะไบเรียบ

กลี้ยงอาจเห็นก้านชนวนไม่ชัดเจน


สนับสนุนโดย


โดยชมรมพระเครื่องเบญจภาคี www.somdej1899.com








       โดยสมาชิกชมรมฯพระเครื่องเบญจภาคี

                   www.somdej1899.com


        

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

หลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมวัดบางคลานที่ได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว




























                ประวัติหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน






หลวงพ่อเงินชื่อเดิมของท่านชื่อเงินในสมัยนั้นยังไม่มีนามสกุลท่านเกิดเมื่อวันที่๑๖กันยายน.. ๒๓๕๓ตรงกับวันศุกร์เดือน๑๐ปีฉลูบิดาของหลวงพ่อเงินชื่ออู๋ซึ่งเป็นชาวบ้านบางคลานมารดาชื่อฟักเป็นชาวบ้านแสนตออำเภอแสนตอ(ปัจจุบันเป็นอำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี) จังหวัดกำแพงเพชร



 

หลวงพ่อเงิน
มื่อเอ่ยชื่อถึง หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน ไม่ มีใครในจังหวัดพิจิตรที่ไม่รู้จักท่านเพราะหลวงพ่อเงินเป็นเกจิอาจารย์ที่ ทรงความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนทั่ว ๆ ไปในบรรดาเกจิอาจารย์ด้วยกันแล้วเห็นจะไม่มีหลวงพ่อองค์ใดที่จะดังไปกว่า หลวงพ่อเงิน ถึงแม้ว่าท่านจะมรณภาพไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๒ ชื่อของท่านยังฝังแน่นอยู่ในความจำของบุคคลทุกชนชั้น

หลวงพ่อเงินชื่อเดิมของท่านชื่อ “เงิน”ในสมัยนั้นยังไม่มีนามสกุล ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๓ตรงกับวันศุกร์ เดือน ๑๐ ปีฉลู บิดาของหลวงพ่อเงินชื่อ อู๋ซึ่งเป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาชื่อ ฟักเป็นชาวบ้านแสนตอ อำเภอแสนตอ(ปัจจุบันเป็นอำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี) จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่อเงิน มีพี่น้องร่วมสาย
โลหิตทั้งหมด ๖ คน ดังนี้
คนที่ ๑ ชื่อ พรม(ชาย)
คนที่ ๒ ชื่อ ทับ(หญิง)
คนที่ ๓ ชื่อ ทอง(ขุนภุมรา) (ชาย)
คนที่ ๔ ชื่อ เงิน(หลวงพ่อเงิน)
คนที่ ๕ ชื่อ หลํ่า(ชาย)
คนที่ ๖ ชื่อ รอด(หญิง)


นปี พ.ศ. ๒๓๕๖ ขณะนั้นหลวงพ่อเงินอายุได้ ๓ ขวบ
นายช่วงซึ่งเป็นลุงของท่านได้พาหลวงพ่อเงิน ไปอยู่กรุงเทพฯด้วยนายช่วงได้อุปการะเลี้ยงดูหลวงพ่อเงินจนกระทั่งเติบโตมี อายุจะเข้าศึกษาเล่าเรียนได้จึงได้นำหลวงพ่อไปฝากไว้ที่วัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) จังหวัดพระนคร หลังจากนั้นท่านก็ได้เรียนหนังสือที่วัดชนะสงคราม ตลอดมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๔๖๕ ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรขณะนั้นอายุได้ ๑๒ ปี หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ได้ศึกษาธรรมวินัยและเวทมนต์คาถาอาคมต่าง ๆ จนถึงขั้นแตกฉาน พออายุใกล้จะอุปสมบทได้ท่านก็สึกจากสามเณรเป็นฆราวาส

 
หลังจากที่ท่านได้สึกจากสามเณรแล้ว ก็มาอยู่กับพี่ชายและพี่สะใภ้ ต่อมาท่านได้มีคู่รักคนหนึ่ง ชื่อ เงินเหมือน กันกับท่าน สมัยก่อนนั้นหนุ่มสาวรักกันจะหาโอกาสพบกันได้ยากมากจะได้พบกันก็เนื่องจาก วันพระไปทำบุญตักบาตรเท่านั้น และวันหนึ่งจะด้วยเหตุดลใจอะไรไม่มีใครรู้ได้ ท่านได้คุยกับพี่สะใภ้ถึงเรื่องการแต่งงาน พี่สะใภ้ก็พูดล้อเล่นว่าอย่าแต่งงานเลยบวชดีกว่า เมื่อได้ยินพี่สะใภ้พูดอย่างนั้น ท่านจึงขอโทษพี่สะใภ้ ขอจับ “นม” พี่สะใภ้ก็ให้จับแต่โดยดี เมื่อหลวงพ่อเงินจับนมพี่สะใภ้แล้ว ก็เอามือมาบีบน่องของตนเองแล้วก็อุทานว่า “นม” กับ “น่อง”ก็ เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้หลวงพ่อเงินตัดสินใจบวชไม่สึกเลยจนกระทั่งมรณภาพเมื่ออายุครบปีบวชท่าน ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดตองปุ(วัดชนะสงคราม) และได้จำพรรษาอยู่ณ วัดนี้ ในระหว่างอุปสมบทได้ปฏิบัติธรรมวินัยและรํ่าเรียนทางวิปัสสนาอยู่ได้ ๓ พรรษาหลังจาก ท่านอุปสมบทคู่รักท่านได้ปักตาลปัตรมาถวายท่าน ๑ อันต่อมาปู่ของท่านป่วยหนัก ทางบ้านจึงให้พี่ชายชื่อทองไปนิมนต์หลวงพ่อเงินให้มาจำพรรษาที่วัดคงคาราม(วัดบางคลานใต้) หลวงพ่ออยู่วัดนี้ได้ ๑ พรรษา

หลวงพ่อเงินเนื่อง จากวัดนี้ มีหลวงพ่ออุปัชฌาย์โห้เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นพระที่เรืองวิชาเหมือนกันชอบเล่นแร่แปรธาตุ นอกจากนี้หลวงพ่ออุปัชฌาย์ท่านยังชอบเทศน์ชาดก(แหล่เป็นทำนอง) การซ้อมแหล่ของหลวงพ่ออุปัชฌาย์โห้เสียงดัง หลวงพ่อเงินคงจะไม่พอใจ เพราะท่านเป็นพระที่เคร่งทางธรรมวินัย และวิปัสสนา ชอบแต่ความสงบเพื่อผลทางวิปัสสนากรรมฐาน ท่านจึงได้ย้ายวัดจากวัดคงคารามไปอยู่ที่หมู่บ้าน วังตะโก ลึกเข้าไปทางลำนํ้าน่านเก่าห่างจากวัดคงคารามคนละฝั่งแม่นํ้ายม

วัดวังตะโกเมื่อออกจากวัดคงคารามแล้ว หลวงพ่อก็มาปลูกกุฏิด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงแฝก อยู่ที่หมู่บ้าน วังตะโก หลวงพ่อเคยพูดว่า ชาติเสือไม่ต้องขอเนื้อใครกินก่อน ที่หลวงพ่อจะออกจากวัดคงคารามได้นำกิ่งโพธิ์จากวัดมาด้วย๑ กิ่ง มาปักไว้ที่หน้าตลิ่ง(ตรงกับที่หน้าพระอุโบสถ) พร้อมกันนั้นหลวงพ่อได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าจะเจริญรุ่งเรืองขอให้ต้นโพธิ์นี้เจริญงอกงามแผ่กิ่งก้านสาขากว้างใหญ่ กาลต่อมาปรากฏว่าต้นโพธิ์ของท่านได้เจริญงอกงาม สมดังคำอธิษฐานนับตั้งแต่นั้นตลอดมาวัดวังตะโกหรือวัดหิรัญญารามก็เจริญ รุ่งเรืองตามลำดับ มีการสร้างกุฏิด้วยไม้สักหลังคามุงด้วยกระเบื้อง หลายหลัง มีศาลาวิหารและพระอุโบสถชื่อเสียงของหลวงพ่อได้ขจรไปทั่วทุกทิศานุทิศ มีประชาชนเคารพนับถือท่านมาก มีคนมาหาท่านมิได้ขาดเพื่อถวายตัวเป็นลูกศิษย์ เพื่อขอเครื่องรางของขลัง เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เพื่ออาบนํ้ามนต์ มีเรื่องเล่าว่านํ้ามนต์ของท่านที่ประชาชนอาบไหลลงสู่แม่นํ้าไม่ขาดสายต่อมา หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับสมณศักดิ์ให้เป็นท่านเจ้าคุณฝ่ายวิปัสสนาจารย์


ลักษณะเด่นประจำตัวของหลวงพ่อตามปกติหลวงพ่อจะออกมานั่ง รับแขกที่หน้ากุฏิมิได้เบื่อหน่าย การนั่งที่ท่านชอบมากที่สุดคือ นั่งขัดสมาธิ เข่าด้านซ้ายจะยกขึ้นนิดหน่อย ในขณะที่หลวงพ่อนั่งคุยกับแขกมักจะถือบุหรี่ตลอดเวลา แต่ถ้านั่งทำนํ้ามนต์ หลวงพ่อจะเอาบุหรี่คีบไว้ที่ง่ามเท้าขวาตลอดเวลา ถ้าบุหรี่ดับก็หยิบขึ้นมาจุดสูบใหม่ นี่คือลักษณะพิเศษของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

 
งานประจำปีวัดบางคลานงาน ประจำปีปิดทองไหว้พระในเดือนสิบเอ็ดของทุก ๆ ปี ในสมัยนั้นเห็นจะไม่มีวัดใดจัดงานได้สนุกสนานและมีประชาชนหลั่งไหลมาเที่ยว อย่างมากมายเหมือนวัดหลวงพ่อเงิน สิ่งที่ดึงดูดความสนใจของประชาชน ให้มาเที่ยวงานคือ เรือเพลง และการแข่งขันเรือยาว ซึ่งนิยมกันมากในสมัยนั้น เรือยาวที่มีชื่อเสียงโด่งดังได้แก่ เรือประดู่หนองดง เรือสาวน้อย เรือดาวเรือง เรือสวรรค์ลอยล่อง เรือพวงมาลัย เรือจระเข้ นอกจากเรือดังกล่าวแล้วยังมีเรืออีกหลายลำ ที่จำชื่อไม่ได้(ที่สามารถระบุชื่อได้ก็เพราะสอบความจากบุคคลที่ยังมีชีวิต อยู่ในปัจจุบัน)สำหรับเรือที่ชนะเลิศในสมัยนั้น ได้แก่ เรือจระเข้เป็นเรือของวัดบ้านน้อยซึ่งขุดด้วยต้นตะเคียนทั้งต้น มีเรื่องเล่ากันว่าก่อนที่จะนำลงแข่งทุกครั้งจะต้องมีการแต่งตัวและเซ่นแม่ ย่านาง พอคนทรงทำพิธีเท่านั้น เรือจระเข้จะแล่นลงนํ้าเอง และเมื่อเวลาแข่งแทบจะไม่ต้องพายเท่าไรเลย เพราะแรงแม่ย่านางหลวงพ่อเป็นผู้มีนโยบายอย่างยอดเยี่ยมในการเรียกคนเข้ามา เที่ยวงานประจำปีในวัดของท่าน คือท่านจะนำผ้าป่า กฐินไปทอดตามวัดต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงแล้วก็นำเรือยาวที่ประชาชนขุดมาถวายไปมอบไว้ตามวัด ต่างๆ เหล่านั้นด้วย พอถึงฤดูเทศกาลปิดทองพระในเดือนสิบเอ็ดก็ให้วัดต่าง ๆ เหล่านั้นนำเรือยาวไป แข่งด้วย การคมนาคมในสมัยนั้นต้องเดินด้วยเท้า แต่ถ้าไม่เดินด้วยเท้าก็ต้องใช้เรือพายทางนํ้าประชาชนที่หลั่งไหลมาเที่ยว งานจากท้องถิ่นต่าง ๆ ก็จะนำเรือมาจอดที่หน้าวัดบางคลานแทบจะหาที่จอดไม่ได้ ต้องผูกเรือต่อ ๆ กัน จนเต็มแม่นํ้าไปหมดนับว่าเป็นงานที่มีคนมาเที่ยวมากที่สุดในสมัยนั้น

 
หลวงพ่อเงินรักษาโรคหลวง พ่อเงินนอกจากท่านจะเป็นพระที่เรืองวิชาแล้ว ท่านยังมีสติปัญญาที่จัดอยู่ในขั้นอัจฉริยะ อีกด้วย เพราะท่านเป็นหมอโบราณที่เก่งกาจ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ประชาชนที่มารับการรักษา วิธีการรักษา ของท่านก็ใช้นํ้ามนต์ และบางทีก็ใช้สมุนไพร สำหรับสมุนไพรนั้นท่านจะจัดให้ไปต้มกิน ในไม่ช้าโรคที่เป็นก็จะหายป่วย ขณะนี้ตำรายาของหลวงพ่อเงินยังอยู่ที่วัดบางคลานเป็นสมุดข่อย ซึ่งทางวัดเก็บรักษาไว้อย่างดี ท่านผู้สนใจไปขอดูได้จากเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน


หลวงพ่อเงินกับเจ้านายทางกรุงเทพฯด้วยความเชื่อถือของ
ประชาชนโดยทั่วไปนี้เอง ทำให้ชื่อเสียงของท่านลือกระฉ่อนไปทั่วทุกสารทิศได้มีเจ้านายทางกรุงเทพฯ ขึ้นมาหาท่านและขอเล่าเรียนวิชาจากท่านในสมัยนั้นมีหลายองค์ที่จำได้ก็มี สมเด็จมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จมาอยู่ที่วัดบางคลานหลายวัน เข้าใจว่าจะมาเรียนวิปัสสนากรรมฐานนอกจากนี้ยังมีผู้เล่าว่ากรมหลวงชุมพรเขต รอุดมศักดิ์ในสมัยนั้นยังทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นอยู่ได้เสด็จมาที่วัดบาง คลานเพื่อเล่าเรียนวิชาจากหลวงพ่อด้วย รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ มีดังนี้
กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ท่านกำลังแสวงหาความรู้เกี่ยวกับทางด้านไสยศาสตร์ ขณะนั้น เป็นศิษย์

  

ของหลวงพ่อ ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่าและได้ศึกษาเล่าเรียนจนจบสิ้นกรมหลวงชุมพรฯ จึงได้ถามหลวงพ่อศุขว่า นอกจากพระคุณท่านแล้ว ยังมีพระอาจารย์องค์ใดที่มีความรู้เก่งกล้าเหนือกว่าพระคุณท่าน หรือพอ ๆ กับพระคุณท่าน หลวงพ่อสุขจึงได้ทูลไปว่านอกจากท่านแล้วยังมีพระอีกรูปหนึ่ง อยู่ที่อำเภอบางคลานจังหวัดพิจิตรซึ่งเป็นพระเถระที่ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระ สูงรูปหนึ่ง เป็นเพื่อนกันและเป็นศิษย์อยู่ในสำนักเดียวกัน แต่มีพรรษาแก่กว่า ชื่อหลวงพ่อเงิน ถ้าหากกรมหลวงชุมพร มีความประสงค์จะไปศึกษาเล่าเรียนและฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ก็จะมีหนังสือฝากตัวไปให้ เมื่อได้ทรงทราบดังนั้นแล้ว กรมหลวงชุมพรฯ จึงได้ออกเดินทางพร้อมด้วยทหารและมหาดเล็กคนสนิท โดยทางเรือมายังวัดบางคลาน เมื่อกรมหลวงชุมพรฯ ได้เสด็จมาถึงวัดปรากฏว่า หลวงพ่อเงินไม่อยู่ ได้รับคำบอกเล่าจากพระที่วัดว่า หลวงพ่อท่านสั่งไว้ว่าจะไปจำพรรษาที่วัดท้ายนํ้า ด้วยเชาว์ปัญญาของกรมหลวงชุมพรฯ พระองค์ทำเป็นเสด็จกลับ พอตกตอนเย็นก็ได้เสด็จย้อนกลับมาที่วัดอีก พอพลบคํ่าพอดี เมื่อเสด็จมาถึงวัดก็พบหลวงพ่อเงิน ซึ่งยืนรอรับเสด็จอยู่แล้ว หลวงพ่อเงินหัวเราะชอบใจ และชอบในเชาว์ปัญญาของ กรมหลวงชุมพรฯ พระองค์ท่านได้อยู่เล่าเรียนกับหลวงพ่อเงินประมาณ ๒๐ วัน ในระหว่างที่ทรงศึกษาเล่าเรียนอยู่นั้น ท่านไม่ค่อยได้ออกมารับแขกบ่อยนัก พอถึงเวลาก็เรียนวิปัสสนา ท่านต้องเคร่งมากเพราะต้อง ควบคุมสติตลอดเวลา นั่งวิปัสสนาขนาดเทียนหนัก ๒ บาท จะต้องรอให้เทียนหมดเล่มก่อน ซึ่งก็ใช้เวลาตั้งแต่หัวคํ่า บางคืนก็ถึงสว่าง(จากคำบอกเล่าของนายตุ๊ โตสุวรรณ) ซึ่งเป็นผู้ที่รู้เรื่องการนั่งวิปัสสนาของหลวงพ่อเป็นอย่างดี เมื่อกรมหลวงชุมพรฯ ได้ศึกษาเล่าเรียนจบแล้วก็ได้เสด็จกลับ
 
กาลอวสานแห่งชีวิตโรค ประจำตัวของหลวงพ่อเงินคือ โรคริดสีดวงทวาร ท่านรักษาตัวของท่านเองบางทีก็หายไปนานแล้ว กลับมาเป็นอีกหลวงพ่อเคยบ่นว่า“คนอื่นร้อยคนพันคนรักษาให้หายได้ แต่พอผงเข้าตาตนเองกับรักษาไม่ได้” ต่อจากนั้นไม่นานโรคเก่าของท่านก็กำเริบเป็นพิษมากขึ้นและแล้วกาลอวสานของ หลวงพ่อก็มาถึง เมื่อวันศุกร์ แรม ๑๑ คํ่า เดือน ๑๐ ปีมะแม ตรงกับ พ.ศ.๒๔๖๒ (ข้อสังเกตวันเกิดและวันมรณภาพของ ท่านเป็นวันเดียวกัน คือวันศุกร์) รวมอายุของท่านได้ ๑๐๙ ปีการมรณภาพของหลวงพ่อทำความเศร้าโศกเสียใจให้แก่บรรดาศิษย์ และผู้ที่เคารพนับถือ อย่างมากบรรยากาศในวัดวังตะโกเงียบเหงา ซึมเศร้า ชาวพิจิตรได้สูญเสียเพชรเม็ดเอกไปเสียแล้ว การอาบนํ้าศพในวันนั้น มีประชาชนหลั่งไหลไปเป็นจำนวนมากเพื่ออาบนํ้าศพของหลวงพ่อ เหตุการณ์ในวันอาบนํ้าศพนั้นจะมีประชาชนเอาขันนํ้า ขวดนํ้า ถังนํ้าไปรองรับนํ้าที่อาบศพอยู่ใต้ถุนศาลา เพื่อนำไปบูชาเพราะถือว่าเป็นของ ศักดิ์สิทธิ์ นอกจากจะแย่งนํ้าอาบศพแล้ว ประชาชนต่างก็แย่งจีวรของหลวงพ่อออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพื่อนำไปเป็นของคงกระพันชาตรี(สมัยนั้นหลวงพ่อเงินใช้จีวรแพรบาง ๆ) เดี๋ยวนี้ผู้ที่มีจีวรของหลวงพ่ออยู่จะหวงแหนมากเพราะถือว่าเป็นของดีที่หา ได้ยากมากอย่างหนึ่ง

 
การฌาปนกิจศพหลวงพ่อเงินคณะ ศิษยานุศิษย์และบรรดาญาติโยมทั้งหลายได้ทำการฌาปนกิจศพ หลวงพ่อเงินเมื่อเดือน ๔ ปีวอก พ.ศ.๒๔๖๓ ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจศพนั้นได้มีการขุดศพของหลวงพ่อเงินขึ้นมาเพื่อชำระ ล้างกระดูก ในการขุดครั้งนั้น(กำนันขจร สอนขำ กำนันตำบลบางคลานเป็นผู้เล่าให้ผู้เขียนฟัง)


นายปลิ้ว ทองเผือก เป็นผู้ชำระล้างทำความสะอาดซากศพของหลวงพ่อ นายปลิ้ว ทองเผือก จึงได้เก็บกระดูกหัวเข่า(ลูกสะบ้า) ของหลวงพ่อ เข้าไว้เพราะถือว่า อาจารย์ดีนั้นจะต้องดีทั้งตัวฉะนั้นกระดูกหลวงพ่อชิ้นนี้จึงไม่ได้เผา ตกทอดเป็นสมบัติของ นายปลิ้ว ต่อมานายปลิ้ว มีญาติชื่อ นายหมอ ทองเผือก จึงได้แบ่งกระดูกไปให้ส่วนหนึ่ง และเมื่อนายหมอมีบุตร ก็ได้แบ่งให้บุตรอีก บุตรของนายหมอ ทองเผือก เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖ ตำบลบางคลาน ชื่อนายสนิท ทองเผือก ปัจจุบันกระดูกของหลวงพ่อส่วนนี้ได้ถูกตัดแบ่งออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยใน ตระกูลทองเผือกสำหรับ กระดูกของหลวงพ่อที่เผาแล้วมีอยู่ที่กำนันตำบลบางคลาน คือ กำนันขจร สอนขำท่านกำนันบอกว่า เป็นมรดกตกทอดมาจากย่าทวด ซึ่งย่าทวดของกำนันได้เอากระดูกมาทำหัวแหวนแทนพลอยสีของกระดูกขาวนวล เมื่อส่องดูด้วยกล้องจะเห็นเป็นขุยเด่นชัด ท่านกำนันเล่าว่าเมื่อได้มาใหม่ ๆ ดมดูกลิ่นหอม เหมือนกระแจะจันทน์ ขณะนี้ดมดูก็ยังหอมอยู่ ความหอมของกระดูกนี้พอจะสันนิษฐานได้ว่า หลังจากฌาปนกิจศพตอนเก็บกระดูก อาจจะถูกพรมด้วยนํ้าหอมก็ได้จึงมีกลิ่นหอมติดอยู่ปัจจุบันกระดูกชิ้นนี้สึก กร่อนไปบ้างทั้งนี้เนื่องจากมีผู้มาขอดูและขออนุญาตเอาขี้ผึ้งมาแตะที่ กระดูกเมื่อแตะแล้วก็ถือว่าขึ้ผึ้งก้อนนี้เป็นของขลังบางคนก็มาขอเอามีดแกะ ไป ต่อมาภายหลังกำนันไม่ยอมให้ใครดู เก็บรักษาไว้อย่างดีในวันฌาปนกิจศพมีประชาชนไปร่วมงานเป็นจำนวนมากเพราะถือ ว่าหลวงพ่อเงินเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง และเป็นมิ่งขวัญของขาวพิจิตรทุกคน

 
ลูกประคำหลวงพ่อเงินลูก ประคำของหลวงพ่อเงินนี้ เป็นของโปรดของท่านเพราะท่านใช้ประจำในขณะนั่งวิปัสสนากรรมฐาน หรือพูดอย่างง่าย ๆ คือ นั่งไป นับไปนั่นเอง สมัยนั้น นายเป๋ อ่อนละมัย ซึ่งเป็นชาวบ้านบางคลาน บวชและได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงิน จนได้รับความไว้วางใจ และเป็นผู้อยู่ใกล้ชิดคอยรับใช้หลวงพ่อตลอดเวลา พระเป๋ อ่อนละมัย บวชอยู่กับหลวงพ่อท่านถึง ๘ พรรษา หลังจากนั้นก็สึก หลวงพ่อจึงได้มอบลูกประคำให้แก่ทิดเป๋ ลูกประคำของหลวงพ่อทำด้วยงาช้างและกะลามะพร้าว กับพระธาตุฉิมพลี ที่โตที่สุดในประเทศไทย ใหญ่ขนาดเท่าเม็ดมะขามป้อม(พระธาตุฉิมพลีนี้เคยนำออกมาให้คุณปรีชา เอี่ยมธรรม แห่งอภินิหาร และพระเครื่องชม ถึงกับอุทานว่าไม่เคยเห็นพระธาตุองค์ไหนจะใหญ่โตเท่านี้)

หลวงพ่อได้บอกกับนายเป๋ว่า จงเก็บรักษาไว้ให้ดี ของนี้เมื่อถึงคราวจนก็ไม่จนเมื่อถึงคราวยาก ก็ไม่ยาก นายเป๋ก็เก็บรักษาไว้อย่างดีตามคำของหลวงพ่อ ต่อมานายเป๋ตาย ลูกประคำนี้จึงได้ตกมาอยู่กับ__นายแชวง อ่อนละมัย ผู้เป็นบุตรตามคำบอกเล่าของนายแชวง อ่อนละมัย เล่าว่า วันหนึ่งในฤดูนํ้าท่วม มีแขกมาเยี่ยมบ้านและขอชมลูกประคำ ขณะที่ยกออกมานั้นลูกประคำตกจากพาน เชือกขาดลูกประคำหลุดกระเด็นตกใต้ถุนบ้านซึ่ง นํ้าท่วม หายไปบางส่วน หลังจากนั้นนายแชวงได้จุดธูปเทียนขอขมาลาโทษ เมื่อนํ้าลดแล้วปรากฏว่าเม็ดลูกประคำไปกองอยู่รวมกันที่กอมะลิ ซึ่งอยู่ข้างล่างทางขึ้นบ้าน เมื่อเก็บมาได้แล้วก็นำมาร้อยเข้าพวงอย่างเดิมครบ ๑๐๘ เม็ด ลูกประคำนี้ถือว่าเป็นยอดแห่งวัตถุมงคลชิ้นหนึ่งของหลวงพ่อเงิน ปัจจุบันลูกประคำยังคงอยู่ในสภาพเดิม เจ้าของรักและหวงแหนอย่างมาก


อภินิหารลูกประคำวันหนึ่ง มีผู้ร้ายจะเข้ามาปล้นบ้านตาเป๋ แต่เข้ามาปล้นไม่ได้เพราะเกิดอัศจรรย์อากาศหนาวเย็นจัด พวกผู้ร้ายเห็นผิดปกติ จึงไม่กล้าเข้าไปปล้น คิดว่าบ้านนี้คงจะมีอะไรดีแน่ๆ เหตุที่ตาเป๋รอดพ้นจากการถูกปล้นเพราะอภินิหารของลูกประคำของหลวงพ่อเงินโดย แท้


ชานหมากหลวงพ่อเงินจากการ เปิดกรุวิหาร วัดบางคลาน โดยมีนายชุมพล โภคะกุล อดีตนายอำเภอโพทะเล เป็นประธาน นอกจากจะพบพระพิมพ์ต่าง ๆ ของหลวงพ่อเงินแล้ว ยังพบชานหมากของหลวงพ่อเงิน ๔ เม็ด ลักษณะของชานหมากเป็นรูปหัวใจ ปัจจุบันนี้ชานหมากเหล่านี้ได้ตกเป็นสมบัติของบุคคลดังนี้ คือ
๑. คุณวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ์ ๑ เม็ด
๒. จ่าตำรวจคนหนึ่งที่อำเภอโพทะเล ๑ เม็ด
๓. นายอำเภอชุมพล โภคะกุล (ภายหลังมอบให้ทหาร) ๑ เม็ด
๔. อีกเม็ดหนึ่งหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
อภินิหารชานหมากหลังจากนายอำเภอชุมพล โภคะกุล ได้มอบชานหมากให้แก่ทหารคนหนึ่งไปแล้วทหารคนนี้ก็สมัครไปรบสงครามเกาหลี ปรากฏว่าเกิดการยิงต่อสู่กับฝ่ายตรงข้าม ทหารผู้นี้ถูกยิงปรากฎว่ากระสุนปืนไม่เข้าจึงได้จดหมายมาเล่าให้นายอำเภอฟัง ถึงอภินิหารชานหมาก


ตะกรุดของหลวงพ่อเงินในสมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ทำตะกรุดอีกด้วย เท่าที่เห็นมีหลักฐาน


แน่นอนได้แก่ตะกรุดสามกษัตริย์ ทอง-นาก-เงิน จากคำยืนยันของนางกิมลุ้ย ตลาดอำเภอบางมูลนากว่า แต่เดิมนั้นนางกิมลุ้ยกับพี่ชายเดิมเป็นคนโพทะเล มักจะนำข้าวต้มหมูไปถวายหลวงพ่อเงินเป็นประจำ เพราะข้าวต้มหมูเป็นของโปรดของ หลวงพ่อเงิน การเดินทางไปมาบ่อย ๆ นี้ ทำให้หลวงพ่อเป็นห่วงจึงได้มอบตะกรุดสามกษัตริย์ให้แก่พี่ชายไว้ป้องกันคุ้ม ครองภัย หลังจากพี่ชายของนางกิมลุ้ยตาย ตะกรุดสามกษัตริย์จึงตกเป็นของนางกิมลุ้ยน้องสาวปัจจุบันตะกรุดสามกษัตริย์ ได้ตกมาเป็นสมบัติของคุณวิรัตน์ ภัทรประสิทธิ อดีตกำนันตำบล หัวดงท่านผู้สนใจจะมาขอชมได้ทุกโอกาส


วัดบางคลาน
ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเงินจาก คำบอกเล่าของกำนันโชติ สนสกุล หลวง
พ่อเงินเป็นหลวงพ่อที่มีอภินิหารศักดิ์สิทธิ์และพิสดารมากในระหว่างที่ ท่านยังมีชีวิตอยู่หลายประการ แม้ท่านได้จากเราไปเป็นเวลานานแล้วความศักดิ์สิทธิ์ของท่านก็ยังมิได้สูญหาย จากเราไป จะขอเล่าให้ฟังตามที่ได้สดับตรับฟังมาจากท่านผู้ใหญ่ที่อายุมาก ๆ เพียงย่อ ๆ กล่าวคือ

. ถ่ายรูปหลวงพ่อเงินไม่ติด 

ในระหว่างที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ผู้คนบ้านใกล้เมืองไกลไปมาหาสู่ท่านไม่ขาดระยะ คราวหนึ่งมีคนต่างชาติคือ คนแขกมา ขอถ่ายรูปของท่านกระจกหน้ากล้องแตก ครั้งที่สองถ่ายอีกคือถ่ายตรง ๆ หน้าพอเอาไปล้างรูปดูแล้ว ปรากฏว่าไม่ติดหมดทั้งหน้า ติดหน้าเพียงแถบเดียว นี่คืออภินิหาร ของหลวงพ่อเงิน

. การหล่อรูปจำลองของหลวงพ่อเงินเมื่อ หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ประชาชนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อได้ตกลงกัน จัดการหล่อรูปจำลองของท่านไว้ ในการเททองหล่อรูปเททองไม่ติด ทำอย่างไรก็ไม่ติด จึงนิมนต์ท่านมาทำพิธีเททองนั้น ขอร้องให้เทให้ติด หลวงพ่อบอกว่า เอาแต่พอแม้นอย่าให้เหมือนเลยแล้วช่างก็ทำการหล่อใหม่สำเร็จ ดังที่ปรากฏอยู่ที่วัดหิรัญญารามปัจจุบันนี้


. การทำปลอกช้างมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่หลวงพ่อมีช้างหลายเชือก เพื่อสะดวกแก่ผู้เลี้ยงช้างจึงได้จัดการทำ ปลอกช้าง ขึ้นใช้ ในระหว่างที่กำลังสูบเตาสูบเพื่อหลอมเหล็กนั้น เหล็กที่หลอมไม่ละลายเพราะหลวงพ่อนั่งดูอยู่ และแกล้งพูดว่าสูบไม่ดีเหล็กจึงไม่ละลายจนกระทั่งลูกศิษย์ของท่าน ต้องการจะให้หลวงพ่อขึ้นไปฉันอาหารบนกุฏิเสียจะได้ทำให้สำเร็จ และเมื่อหลวงพ่อจะลุกขึ้นไปฉันอาหารบนกุฏิท่านแกล้งเอาจีวรทิ้งใส่ลงไปในเตา สูบนั้น พวกลูกศิษย์ตะลึงและแกล้งสูบใหญ่เพื่อให้ไหม้ไฟ สูบอยู่นานจนควันเขียวแล้วก็แดง ครั้นเอาคีมคีบขึ้นมาจับดูปรากฏว่าจีวรไม่ไหม้ไฟแต่อย่างใด พวกลูกศิษย์ที่ช่วยกันทำปลอกช้างนั้น จึงแย่งฉีกชายจีวรนั้นมาผูกคอคนละชิ้นสองชิ้น เมื่อท่านฉันอาหารเสร็จแล้วจึงลงมาดูที่ที่ทำปลอกช้างนั้น แล้วพูดว่าใครเอาจีวรกูไปไหน พวกลูกศิษย์จึงชี้ไปที่คอซึ่งจีวรหลวงพ่อถูกฉีกเอาไปทำเครื่องรางของขลัง เสียแล้ว ท่านก็ไม่ว่ากระไร นี่คืออภินิหารของหลวงพ่อเงิน ซึ่งศักดิ์สิทธิ์เหลือเกิน จีวรเผาไฟไม่ไหม้


. เชื้อพระวงศ์มาเยี่ยมวัดหลวงพ่อเมื่อ หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ก็ได้มาขออาบนํ้ามนต์กับหลวงพ่อ สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช มาขอเรียนศิลปศาสตร์กับหลวงพ่อด้วย
. สิ่งที่ประทับใจที่ลูกหลานไม่รู้ลืมคือ เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างโรงเรียนประชาบาล ตำบลบางคลาน(เงินอนุสรณ์)ซึ่งปัจจุบันนี้ลูกหลานยังได้ศึกษาเล่าเรียนตราบ เท่าทุกวันนี้ข่าวเล่าลือว่าหลวงพ่อบอกหวยแม่น ก็มีประชาชนไปขอกันมากมาย ภายหลังต่อมาหลวงพ่อเห็นว่าการบอกใบ้หวยเป็นการพนันหลวงพ่อจึงไม่ยอมบอกใคร อีก

 
ลำดับเจ้าอาวาสวัดหิรัญญาราม(วังตะโก) อำเภอโพทะเล
 
หลังจากหลวงพ่อเงินมรณภาพแล้ว ได้มีเจ้าอาวาสวัดหิรัญญารามเรียงตามลำดับดังนี้
๑. อาจารย์แจ๊ะ
๒. อาจารย์ขาว
๓. อาจารย์ยา
๔. อาจารย์ผิน
๕. อาจารย์โชติ
๖. อาจารย์บุญธรรม
๗. อาจารย์เปรื่อง (พระครูพิบูลธรรมเวท)
สำหรับเจ้าอาวาสดังที่กล่าวข้างต้นนี้ อาศัยหลักฐานจากการสอบถามพระครูพิบูลธรรมเวทเจ้าอาวาสวัด
บางคลานในขณะนั้นและนายสนิท จุลพันธ์ เคยบวชอยู่วัดบางคลาน สึกออกมาเป็นมรรคนายก วัดบางคลาน บ้านเกิดอยู่บางคลาน เป็นผู้บอกเล่านามสกุลของเจ้าอาวาสแต่ละองค์ไม่สามารถจำได้เมื่อค้นหา หลักฐานจากทางวัดแล้วไม่มีการจดบันทึกไว้เลย ถึงอย่างไรก็ตามเพียงแต่เราได้หลักฐานเท่านี้ ก็นับว่าพอเพียงแล้ว ซึ่งก็เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจโดยทั่วกัน


อภินิหารน่าอัศจรรย์หลังจากหลวงพ่อเงินได้มรณภาพไปแล้ว

 
. วันทำศพหลวงพ่อเงินคือ เมื่อถึงวันจัดการเผาศพมีประชาชนมากมายเหลือที่จะคณานับ ยื้อแย่งกระดูก จีวร จากตัวท่านเอาไปทำเครื่องรางของขลัง และเอาไปสักการบูชาเพื่อป้องกันภัยต่าง ๆ นับว่าหลวงพ่อเงินมีประชาชนเคารพนับถือและเลื่อมใสในตัวท่านมาก


. วาจาสิทธิ์ของหลวงพ่อเงินหลวง พ่อเงินมีวาจาสิทธิ์มากคนเกรงกลัวกันนักหนา คือ ท่านห้ามมิให้มีเรื่องราวเกิดขึ้นในวัดของท่าน เช่นตีกัน ยิงกัน หรือฉกชิงวิ่งราวไม่ได้เป็นเด็ดขาดถ้าใครขืนทำสืบดูรู้ตัวต้องมีอัน__เป็นไป ต่าง ๆ คือไฟไหม้บ้านบ้าง ตายโหงบ้าง เช่นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ทางวัดมีงานประจำปี มีคนมามากมายเกิดลักทรัพย์ขึ้นในวัด ในที่สุดจับผู้ร้ายได้และถูกฟ้องศาลติดตะราง ส่วนภรรยาของผู้ร้ายได้สาบาน ต่อหน้ารูปจำลองหลวงพ่อเงินว่าสามีของตนไม่ได้เป็นคนลักทรัพย์ ในที่สุดหลังจากเสร็จจากงานปิดทองไหว้พระแล้ว ภรรยาของคนร้ายก็ได้อาเจียนออกมาเป็นโลหิต จนถึงแก่ความตาย อภินิหารของหลวงพ่อเงิน ถ้าใครทำขึ้นในวัดย่อมมีอันเป็นไปให้เห็นดังนี้เสมอจึงมีผู้เกรงกลัวมาก

 
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดหลวงพ่อเงิน

 
. ไม้ละมุดหลวงพ่อเงินละมุด ต้นนี้เมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ขึ้นอยู่หน้ากุฏิของท่านเป็นที่สำหรับอาบ นํ้ามนต์ไม่กี่ปีมานี้ละมุดต้นนี้ตายและตายอยู่ ๓ เดือน ใบยังไม่ร่วง ครั้นต่อมามีคนต่างจังหวัดมาขอเอาไป ทางวัดก็ให้ไปบ้างและเก็บไว้บ้าง เล่ากันว่าที่คนเอาไปๆ ผูกคอโดยทำเป็นพระเครื่องบ้างเลี่ยมทองบ้าง เป็นเครื่องรางของขลังบ้าง เขาว่ายิงไม่เข้าบ้าง ไม่ดังบ้าง ยิงไม่ถูกบ้าง จนกระทั่งเลื่องลือกันไปทุก ๆ แห่งเดี๋ยวนี้ แม้แต่รากละมุดอยู่ในดินก็ขุดคุ้ยเอาไปทำเครื่องรางของขลังกันหมดแล้ว
. กล้วยร้อยหวีแม้ แต่กล้วยซึ่งปลูกไว้ข้างศาลาการเปรียญของหลวงพ่อเงินก็แจกจ่ายกันคนละผลสอง ผลในที่สุด แม้แต่ต้น ใบ ราก ก็เอาไปทำเครื่องรางของขลังกันหมดเหมือนกับต้นละมุดนั่นแหละ


. สัปคับช้าง(อาน ช้าง) หลวงพ่อเงิน หลังจากหลวงพ่อเงินมรณภาพไปแล้วแม้แต่สัปคับช้าง ซึ่งหลวงพ่อเงินเคยขี่ช้างและนั่งสัปคับช้างนั้น ได้เก็บและทิ้งไว้หลังพระอุโบสถหลังเก่าก็มีผู้เอาไปเลี่ยมทองบ้าง เลี่ยมเงินบ้างเอาไปทำเครื่องรางของขลังบ้าง จนกระทั่งหมดไป


. ต้นโพธิ์หลวงพ่อเงินจากคำบอกเล่าของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูพิบูลธรรมเวทเจ้า อาวาสองค์ปัจจุบัน ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเงินที่ปรากฏแก่หลวงพ่อพระครูพิบูลธรรมเวทคือต้น โพธิ์หลวงพ่อเงินปลูกอยู่หน้าพระอุโบสถของท่าน ต้นโพธิ์ต้นนี้มีผู้สูงอายุที่เคยเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงินมาก่อนเล่าให้ ฟังว่าเป็นต้นโพธิ์อธิษฐานเมื่อก่อนที่หลวงพ่อจะย้ายจากวัดคงคาราม(วัดบาง คลานใต้) มาสร้างวัดขึ้นใหม่คือ วัดวังตะโก (วัดหิรัญญาราม ตำบลบางคลานปัจจุบันนี้) ท่านก็ได้นำกิ่งโพธิ์มาหนึ่งกิ่ง แล้วท่านก็มาอธิฐานว่าถ้าจะสร้างวัดตรงนี้แล้วจะเจริญรุ่งเรืองต่อไปในภาย ภาคหน้าก็ขอให้ต้นโพธิ์เจริญงอกงาม



ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล