วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555


















หลวงปู่ทวดหลังเตารีด 2505

"ได้รับความนิยมอย่างมากกลายเป็นที่แสวงหาของประชาชนอย่างกว้างขวาง"

2 


หลังจากที่ พระอาจารย์ทิม หรือพระครูวิสัยโสภณ วัดช้างให้ ปัตตานี และคณะกรรมการวัดได้จัดสร้างพระพิมพ์เนื้อว่านหลวงปู่ทวดปี พ.ศ.2497 สำเร็จลุล่วงแล้ว ปรากฏ ว่ามีผู้มาขอรับและร่วมบุญจำนวนมากอีกทั้งประสบการณ์ปาฏิหาริย์ขององค์พระ เครื่องได้เกิดขึ้นเป็นที่เล่าขานกันไปทั่วจึงเกิดเสียงแรียกร้องให้คณะ กรรมการวัดจัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดขึ้นอีก ในบันทึกของ คุณอนันต์ คณานุรักษ์ เขียนไว้ว่า “พระ เครื่องที่จะสร้าง (ดินผสมว่าน) อีกหรือไม่นั้นยังไม่แน่แล้วแต่ความจำเป็น ซึ่งท่านอาจารย์ทิมและผมเห็นสมควร เช่นจะทำพิธีปลุกเสกพระในวันที่ 16, 17, 18 เดือนนี้นั้น เป็นพระเครื่องหล่อด้วยโลหะ ความจริงแล้วผมตั้งใจจะพิมพ์กับดินว่านแบบเก่า แต่ท่านอาจารย์ทิมนั่งทางในขออนุญาตต่อพระวิญญาณของท่าน ท่านบอกว่าดินว่านเหล่านั้นใช้แล้วแตกหักคงจะเสียใจ หากมีกำลังทุนพอก็ให้สร้างด้วยโลหะ เราจึงต้องปฎิบัติตาม"
ซึ่งในการหล่อเนื้อโลหะนั้นจำเป็นจะต้องมีทุนรอนมากกว่าการหล่อแบบเก่า ซึ่งก็ได้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรฯ หรือพระองค์ชายกลาง ทรงเป็นประธานอุปถัมภ์ในการจัดสร้าง ตามคำอนุญาตจากหลวงปู่ทวดผ่านพระอาจารย์ทิม มีการนำชนวนและมวลสารจากวัด นำไปหล่อพระร่วมกันที่กรุงเทพฯ ก่อนที่จะส่งไปให้ อาจารย์สวัสดิ์ เดชพวง เป็นผู้หล่อ  หล่อพระหลวงปู่ทวดเนื้อโลหะหลังเตารีดขึ้น 3 ขนาดคือ เล็ก กลาง ใหญ่ และยังทรงนำโลหะหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นก้อนเงินและทองคำใส่ลงในเบ้าหลอม ส่วนการเท พระเนื้อเมฆพัด ได้ใช้แม่พิมพ์เป็นเหล็กหยอดทีละองค์ มิได้ใช้วิธีเทเป็นช่อหรือตับอย่างพระเนื้อโลหะผสม นอกจากนี้ยังมีแบบ หลังตัวหนังสือ พระกริ่ง ซึ่งจะพูดถึงในคราวหลัง
หมายความว่า หลวงปู่ทวดหลังเตารีดเนื้อโลหะ ที่สร้างในคราวนี้แบ่งเป็น พิมพ์ใหญ่เนื้อทองคำผสมโลหะจำนวน 99 องค์ พิมพ์ใหญ่ เนื้อเมฆพัดจำนวนไม่ถึง 1,000 องค์ และ พิมพ์ใหญ่เนื้อนวโลหะและเนื้อโลหะผสม อีกจำนวนหลายหมื่นองค์ ที่เหลือเป็น พิมพ์กลางและ พิมพ์เล็กนอก จากนี้ยังมีการปั๊มหลวงปู่ทวดรุ่นหลังตัวหนังสือและพระกริ่งอีกด้วย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวด รุ่นหลังเตารีด มีการเททองหล่อกันนอกวัด โดยวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีปลุกเสกเนื้อโลหะและการลงแผ่นทอง ชนวน รวมถึงพิธีปลุกเสกใหญ่ซึ่งพระองค์ชายกลางได้นำโลหะชนวนทั้งหมดที่ปลุกเสก แล้วนั้นไปหล่อกันที่วัดคอกหมู หรือ วัดสิตาราม กรุงเทพฯ (อยู่เลยวัดสระเกศหรือภูเขาทองไปเล็กน้อย)

ในการจัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดครั้งนี้ ทางวัดได้ดำเนินการพร้อมกับงานสมโภชรูปเหมือนหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ประจำวัด ซึ่งต่อมาได้กำหนดให้เป็นงานประจำปีของวัดช้างไห้ไปด้วย พิธีดังกล่าวจัดขึ้นถึง 3 วัน 3 คืน คือวันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2505 ตรงกับวันขึ้น13 ค่ำ เดือน 6 เวลา 9.00 น. อัญเชิญพระเครื่องหลวงปู่ทวดเข้าสู่โรงพิธีในพระอุโบสถ เพื่อให้พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ วันรุ่งขึ้น วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2505 เวลา 9.00 น. ทำพิธีประกาศโองการตามหลักไสยศาสตร์และอัญเชิญดวงจิตหลวงปู่ทวดเข้าประทับใน พิธี เวลา 21.00 น. นั่งปรกและสวดพุทธาภิเษกไปตลอดทั้งคืน และ วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2505 เวลา 9.00 น. กระทำประทักษิณเวียนเทียนวิสาขบูชา และปิดท้ายด้วยเทศนา 1 กัณฑ์ และสุดท้ายในวันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2505 เวลา 6.00 น. พระอาจารย์ทิมแจกพระเครื่องหลวงปู่ทวดเป็นปฐมฤกษ์

มีข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับ พระหลวงปู่ทวดเนื้อโลหะปี 2505ดังนี้
 3
  • หลังเตารีดที่นิยมเรียกนั้น ความจริงเป็นกลีบบัวในพิมพ์กลาง ปลายจะมน พิมพ์อื่นปลายแหลมเหมือนเตารีด
  • พระองค์เจ้าเฉลิมพลฯ ทรง ควบคุมการเทโลหะด้วยพระองค์เอง ครั้งแรกทรงเทเนื้อทองคำ 99 องค์ ต่อมาเทเนื้อเมฆพัดซึ่งเป็นโลหะเกิดจากทองแดงผสมตะกั่วซัดด้วยกำมะถันสีออก ดำมันวาวเปราะด้านหลังเป็นแอ่ง เนื่องจากเปราะจึงไม่นำมาเจียแต่งมากนัก เทได้ไม่ถึง 1,000องค์ โลหะหมด อาจารย์สวัสดิ์เลยให้หยุดเท เส้นข้างสังฆาฏิจะมีริ้วจีวรในแนวนอนเป็นบั้งๆ ไม่เป็นแนวเฉียง
  • ต่อมาได้ทำการเทเนื้อนวโลหะโดยเสด็จฯ พระองค์ชายกลาง ใส่ทองคำผสมลงไปเป็นจำนวนมาก ก่อนที่จะเทเนื้อโลหะผสม (ทองแดง+ทองเหลืองและโลหะอื่นๆ ที่ประชาชนมาร่วมบริจาค) ในส่วนพิมพ์ใหญ่ทั้ง 2 เนื้อนับได้ประมาณ6,000 องค์
  • หลวงปู่ทวดเนื้อโลหะ เป็นการเทแบบเป็นช่อ ยกเว้นเนื้อเมฆพัด จึงมีคราบเบ้าและดินขี้เบ้าจับอยู่ ด้านใต้ฐานปรากฏเป็นรอยแต่งช่อและตะไบ
  • เมื่อเทเสร็จมีการส่งไปให้ช่างโรงงานแสงฟ้าแต่งพิมพ์ เนื่องจากเป็นช่างมีฝีมือรอยตะไปที่ปรากฏจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันดูเรียบร้อย และช่างยังคัดองค์ที่เทไม่สวยออกมาให้ทำแม่พิมพ์ปั๊มซ้ำอีกเป็นจำนวนมากเป็นที่มาแห่ง "พิมพ์ปั๊มซ้ำ"
        หลวงปู่ทวดหลังเตารีดเนื้อโลหะปี 2505”  ซึ่งมีข้อสังเกตอันเป็นหลักเบื้องต้นในการพิจารณาดังนี้
  • ความจริงแล้วรูปแบบหลวงปู่ทวดเนื้อโลหะปี 2505 ที่ทำเป็นพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก นั้น ล้วนแล้วแต่จำลองแบบมาจากหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี 2497 ทั้งสิ้น
  •  
  • เนื่องจากการเทประเภทโลหะผสม ระหว่างเนื้อทองแดงกับเนื้อทองเหลือง บางส่วนผสมโลหะไม่เท่ากัน ทำให้บางองค์จะมีกระแสออกแดงเนื่องจากทองแดงมาก บางองค์กระแสออกเหลืองเนื่องจากทองเหลืองมาก สมัยก่อนคนเห็นองค์ทองเหลืองแล้วตกใจ แต่ปัจจุบันทราบกันดีแล้วว่าเกิดกระแสทั้งสองชนิด
  • ตอนขนส่งพระโลหะที่หล่อเสร็จไปวัดช้างให้ อาจารย์สวัสดิ์ ใช้น้ำยาชนิดหนึ่งสีออกดำๆ ชุบรักษาเนื้อองค์พระ ก่อนขนส่งทางรถไฟไปวัดช้างให้ ส่งผลให้องค์พระเนื้อโลหะมีคราบคล้ายน้ำมันผนึกติดแน่นอยู่ในซอก และหากดูให้ดีองค์หลวงปู่จะดูเหมือนเป็นมันเยิ้ม เนื้อไม่แห้งกระด้าง
  •  
  • หากพบบางองค์มีรอยตอกคำว่า หลวงปู่ทวดวัดช้างให้ ด้านหลัง หรือมีตัว ด้านหน้าที่ใดที่หนึ่ง ไม่ต้องตกใจ เพราะเสด็จฯ พระองค์ชายกลางทรงให้ตอกไว้ แต่ตัวอักษรจะมีลักษณะเป็นเหลี่ยมลึกชัดเจน
  •  
  • พระพิมพ์ใหญ่เนื้อโลหะผสมและพิมพ์กลางถูกนำไปปั๊มซ้ำจำนวนมาก โดยเฉพาะ พิมพ์กลาง เกือบทั้งหมดเป็นพระปั๊มซ้ำ ให้สังเกตจากรอยเขยื้อนของการปั๊ม และให้ดูที่ฐานบัวแทนที่จะเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายแล้วมีเส้นขีดกึ่งกลางกลับมีเส้นพาดแบ่งบัวตอนบนออกอีก ความ จริงเป็นเส้นระหว่างบัวแต่เขยื้อนเลยแบ่งบัวออกกลายเป็นบัวสามชุดปรากฏ ชัดเจนในพระพิมพ์กลาง ซึ่งพิมพ์กลางมีขนาดหลังแต่งประมาณ 1.5x3 ซ.ม. และเป็นพิมพ์เดียวแยกเป็นไม่ปั๊ม (มีน้อยมาก) กับพิมพ์ปั๊ม แต่ในพิมพ์เล็กไม่ปรากฏการปั๊มซ้ำ
  •  
  • เอกลักษณ์ของพระโลหะชุดนี้จะคล้ายปี 2497 มาก เช่น หูพระด้านซ้ายขององค์พระจะไม่กางมากและจะแนบติดกับศีรษะมากกว่าหูขวา และทุกพิมพ์จะเห็นก้อนชายจีวรมือซ้ายย้วยนูนชัดเจน อีกทั้งช่างจะแต่งรอยต่อระหว่างชายจีวรหน้าแข้งกับหน้าแข้งให้เห็นเด่นชัด และนิ้วเท้าก็จะเห็นเป็นนิ้วๆ อีกด้วย เข้าใจว่าคงจะเอาแม่พิมพ์ที่ใช้หล่อกับองค์–หลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี 2497 มาเป็นแบบให้ช่างแต่งแม่พิมพ์
  • หลวงปู่ทวดน่าจะเป็นพระภิกษุองค์เดียวที่ปรากฏในองค์พระเครื่อง ว่านั่งอยู่บนบัลลังค์บัวคว่ำบัวหงาย เนื่องจากท่านได้รับความเคารพในลักษณะขององค์พระโพธิสัตว์ด้วย แม้คำสวดสรรเสริญท่านยังขึ้นด้วย นโม โพธิสัตว์โต..."
  • พิมพ์เล็กนั้นเป็นพิมพ์ที่ไม่ผ่านการปั๊มซ้ำมีขนาดประมาณ 1.6x2.8 ซ.ม. แบ่งเป็นพิมพ์หน้าใหญ่ (หน้าแหงน) และพิมพ์หน้าเล็ก (หน้าอาปาเช่)  พิมพ์หน้าใหญ่เนื่องจากมีจำนวนน้อยจึงนิยมสู้หน้าอาปาเช่ไม่ได้ คำว่า Apache ป็นชื่อเผ่าอินเดียแดง อยู่ แถบตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา แล้วก็เป็นยี่ห้อแป้งทำขนมและไอศครีมที่เข้ามาขายในประเทศไทย โดยพิมพ์รูปอินเดียแดงทาหน้าเป็นเส้นๆ ด้วยสีสันต่างๆ ใส่หมวกขนนก เมื่อคนเห็นริ้วรอยของหน้าหลวงปู่ซึ่งช่างหล่อและแต่งเป็นรอยย่น (ซึ่งได้ต้นเค้ามาจากพิมพ์ใหญ่กรรมการ 2497) เลยเรียกตามกันว่าหน้าอาปาเช่
4พระชุดนี้จะมีน้ำหนักและความแกร่งหนาในตัว ไม่บอบบาง รวมทั้งชัดลึกทั้งเส้นหน้าผากและริ้ว

จีวร ขอบข้างมีรอยเจียและแต่งด้วยตะไบ ดูของแท้มากๆ ก็จะคุ้นตาสามารถพิจารณา แล้วอย่าลืมว่าพระคาถาบูชาหลวงปู่ พrr อ้อลืมกระซิบไปอย่านิมนต์ท่านขึ้นคอไปเที่ยวเล่นการพนันนะครับ อันนี้เขาบอกต่อกันมาแต่โบราณแล้ว ท่านไม่ชอบ แต่ถ้าใครทำมาหากินละก็รับรองรวยไม่รู้เรื่องเลยละ ส่วนสนนราคานั้นพูดได้คร่าวๆ ว่า ถ้าเป็น เนื้อว่านปี 2497 พิมพ์ใหญ่ ราคาแตะล้านมานานแล้ว ส่วนพิมพ์ใหญ่หลังเตารีดราคาขยับขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ 7-8 แสนจนถึงล้าน ส่วนพิมพ์กลางหลายแสน และพิมพ์เล็กหมื่นปลายถึงแสนต้นครับผม พระหลวงปู่ทวดหลังเตารีดที่สร้างขึ้นในครั้งนี้ได้รับความนิยมอย่างมากกลาย เป็นที่แสวงหาของประชาชนอย่างกว้างขวางและมีการทำเทียมเลียนแบบเป็นจำนวนมาก เช่นกันครับ


 ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลเพื่อการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น